ชื่อผลงาน การพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียน
โดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง
ผู้รายงาน นายขรรค์ชัย เหน็บบัว
ผู้อำนวยการโรงเรียนกงหราพิชากร
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563 2564
บทคัดย่อ
รายงานผลการวิจัยการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 2564 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 2564
2. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564
3. เพื่อศึกษาความสามารถพิเศษของนักเรียนโรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564
5. เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียนโรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564
ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่กรกฎาคม 2563 มีนาคม 2565 ต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 359 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา2564 จำนวน 341 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความสามารถพิเศษของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และแบบบันทึกตามสภาพจริง รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามระดับคุณภาพการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้โดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 ได้ค่าความเชื่อมั่น.978 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้โดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 ได้ค่าความเชื่อมั่น .949 ฉบับที่ 3 แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความสามารถพิเศษด้านกีฬาของนักเรียนโดยใช้โดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 โดยครูที่ปรึกษาและครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกีฬา ฉบับที่ 4 แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความสามารถพิเศษด้านดนตรีของนักเรียนโดยใช้โดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 โดยครูที่ปรึกษาและครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดนตรี ฉบับที่ 5 แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้โดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 โดยครูที่ปรึกษาและครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 6 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 ได้ค่าความเชื่อมั่น .981 ฉบับที่ 7 แบบบันทึกผลตามสภาพจริงจากสารสนเทศโรงเรียน ที่โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียนโรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลระดับจังหวัด/รางวัลระดับภาค/รางวัลระดับประเทศ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2564 ช่วงเดือนมีนาคม 2564วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS version 18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับคุณภาพการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (=3.69, .= 0.68) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก (
=3.67, S.D.= 0.63) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =3.57, S.D. = 0.67)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.74, = 0.44) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, S.D.= 0.48 ) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( =4.55, S.D.= 0.62 ) สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง
จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีส่วนร่วมมากที่สุด ( = 4.41, S.D.= 0.12) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครูและกลุ่มเครือข่ายชุมชน (, = 4.28, ,S.D.= 0.19,10) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมต่ำสุด ( = 4.24, S.D.= 0.10) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2564 โดยรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามอยู่ ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.68, S.D.= 0.13,0.14 ) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.66, S.D.= 0.26) ส่วนกลุ่มครู มีส่วนร่วมต่ำสุด ( = 4.65,  = 0.14) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันสอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬาของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 และ 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬาของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสมรรถภาพทางกาย 2) ด้านสมรรถภาพทางจิตใจ 3) ด้านสติปัญญา และ4 ) ด้านความเป็นเลิศ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 72. 63 74.64
ปีการศึกษา 2564 พฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬาของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสมรรถภาพทางกาย 2) ด้านสมรรถภาพทางจิตใจ 3) ด้านสติปัญญา และ4 ) ด้านความเป็นเลิศมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 74.67 77.92 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬาของนักเรียนปีการศึกษา 2564 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 ทุกด้านสอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านดนตรีของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 และ 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านดนตรีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทักษะดนตรี 2) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ 3) ด้านสุขภาวะทางอารมณ์ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 72.03 - 72.83
ปีการศึกษา 2564 พฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านดนตรีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทักษะดนตรี 2) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ 3) ด้านสุขภาวะทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 74.29 76.36 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านดนตรีของนักเรียนปีการศึกษา 2564 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 ทุกด้าน สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. ผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 และ 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านด้านศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ 3) ด้านสุขภาวะทางอารมณ์ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 72.63 75.85
ปีการศึกษา 2564 พฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ 3) ด้านสุขภาวะทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 74.60 77.73 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนปีการศึกษา 2564 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 ทุกด้าน สอดคล้องตามสมมติฐาน
6. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรี ศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 และ 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ครู มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (= 3.74, . = 0.15) รองลงมาได้แก่ กลุ่มเครือข่ายชุมชน อยู่ในระดับมาก ( = 3.74 , S.D. = 0.15) ส่วนกลุ่มนักเรียน กลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.70, S.D. = 0.33,0.12)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83, S.D. = 0.36) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. = 0.38) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน (= 4.65, . = 0.13) สอดคล้องตามสมมติฐาน
7. ผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียนโรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ได้รับการประกาศเกียรติคุณทั้งระดับจังหวัด / ภาค/ และประเทศ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้
1. ด้าน Good Student ( นักเรียนดี ) นักเรียนควรเป็นบุคคลที่มีน้ำใจงาม ความรู้ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเองและแก่สังคมส่วนรวมในอนาคต
2. ด้าน Good School ( โรงเรียนเด่น) โรงเรียนควรสร้างโอกาสให้กับนักเรียนพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จ พัฒนาแหล่งเรียนรู้มีความหลากหลาย ให้เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรี และศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ เช่น ศูนย์อนุรักษ์มวยไทย วงดนตรี กิจกรรมสืบสานมโนราห์ เพื่อให้ตรงกับศักยภาพ ความถนัดของนักเรียน เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ขับเคลื่อนการศึกษาเพื่ออาชีพ เพิ่มช่องทางในการเลือกศึกษา นักเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
3. ด้าน Good Teacher ( ครูเป็นนักพัฒนา) ครูต้องมีความกระตือรือร้น พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอให้ มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร สมรรถนะ คุณลักษณะพึงประสงค์ มีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดี มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครูและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียน
4. ด้าน Good Management ระบบการบริหารก้าวหน้า (การบริหารจัดการดี) พันธสัญญา พลังประชารัฐ ร่วมใจ สถานศึกษาควรจัดทำ MOU กับพลังประชารัฐ และสร้างพลังขับเคลื่อนพัฒนาเป็นการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมของนักเรียน กิจกรรมระดมทรัพยากรการศึกษาขั้นพื้นฐานส่งผลให้โรงเรียนมีความพร้อมในการพัฒนาความสามารถพิเศษของนักเรียนอย่างรอบด้าน อันก่อให้เกิดผลดีต่อระบบการบริหารอย่างคล่องตัว
5. ด้าน Good community (สร้างศรัทธาจากชุมชน ) เกียรติคุณหลากหลาย รางวัลมากมาย ก้าวไกลสู่ความสำเร็จ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมวันเกียรติยศ และกิจกรรมเผยแพร่ผลงานของโรงเรียนสู่สาธารณชน เพื่อให้ชุมชนมีความศรัทธา เชื่อมั่น ยอมรับ ให้การสนับสนุน สร้างความแน่นแฟ้นกับโรงเรียน และร่วมชื่นชมความสำเร็จด้วยความภาคภูมิใจในการประกาศเกียรติภูมิวิถี
6. หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่สะท้อนการพัฒนาความสามารถพิเศษของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความคงทนถาวรของการพัฒนาความสามารถพิเศษ และทบทวนกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโรงเรียน เช่นในด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงของครู การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายแห่งรัฐ อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการส่งเสริมและบริหารจัดการพัฒนาความสามารถพิเศษของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการบริหารตามแนวทางนี้
2. ควรนำแนวทางที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ไปทดลองใช้ในโรงเรียนอื่นทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรืออื่น ๆ แล้วทำการเปรียบเทียบว่าได้ผลเหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร