บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) ๒) เพื่อประเมินด้านปัจจัยการดำเนินโครงการ (Input Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) ๓) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) ๔) เพื่อประเมินด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ (Product Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) สังกัดเทศบาลเมือง ประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๕) เพื่อประเมินด้านผลกระทบการดำเนินโครงการ (Product Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์)
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) สังกัดเทศบาลเมือง ประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPI Model ของ Stufflebeam กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) จำนวน ๓๒ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๔ คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑- มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๓๔๘ คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑- มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๓๔๘ คน ได้มาโดยการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตราประเมินค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวบรวมข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการประเมินพบว่า
๑. ด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารและครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อด้านบริบทของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
๒. ด้านปัจจัยการดำเนินโครงการ (Input Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารและครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
๓. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน มีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
๔. ด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ (Product Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นต่อด้านผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
๔.๑ ผลการประเมิน จากแบบสอบถามความเห็นระดับพฤติกรรมนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรมตามการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา จากการสอบถามครู พบว่านักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
๔.๒ ผลการประเมิน จากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา จากการสอบถามนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษา โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
๕. ด้านผลกระทบการดำเนินโครงการ (Impact Evaluation) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารและครู และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านผลกระทบการดำเนินโครงการโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาโดยร่วมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ , ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา