ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสุปรีดา นาพี ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 3
(วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมอง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 แผน 2) แบบประเมินทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย 3 ด้าน ได้แก่ ความจำขณะทำงาน การยับยั้งชั่งใจ และ ความยืดหยุ่นทางสติปัญญา และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t test (Independent Sample t test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้น
อนุบาลปีที่ 3 เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดประสบการณ์ มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จคิดเป็นร้อยละ 56.30 และหลังการจัดประสบการณ์ มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จคิดเป็นร้อยละ 85.78 เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า
1.1 ความจำขณะทำงาน ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความจำขณะทำงานคิดเป็นร้อยละ 55.69 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความจำขณะทำงาน คิดเป็นร้อยละ 84.71
1.2 การยับยั้งช่างใจ ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของการยับยั้งช่างใจเท่ากับ คิดเป็นร้อยละ 56.86 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของการยับยั้งช่างใจ คิดเป็นร้อยละ 87.99
1.3 ความยืดหยุ่นทางสติปัญญาก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความยืดหยุ่นทางสติปัญญา คิดเป็นร้อยละ 56.47 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความยืดหยุ่นทางสติปัญญาคิดเป็นร้อยละ 85.10
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีโดยให้สมองเป็นฐาน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์ด้านความจำขณะทำงาน ด้านการยับยั้งช่างใจและด้านความยืดหยุ่นทางสติปัญญา สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05