ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้
ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางอุษาวดี ซงตายา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Evaluation: E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ttest (Independent Sample t test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 ขั้นนำ หมายถึง การเตรียมเด็กให้พร้อมในการเรียนโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อ
เข้าสู่หน่วยการจัดประสบการณ์ ดังนี้ ทักทายเด็ก เตรียมความพร้อมเด็ก แนะนำหน่วยการจัดประสบการณ์นำเข้าสู่หน่วยการจัดประสบการณ์ด้วยคำคล้องจอง เพลง ปริศนาคำทาย สัมผัสกล่องปริศนา สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับกิจกรรม
1.2 ขั้นกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การดำเนินการจัดกิจกรรมใช้กระบวน การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ คิด ลงมือปฏิบัติ สำรวจ ทดลอง สืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้คำถาม สังเกต เปรียบเทียบ อธิบายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกิดการค้นพบ ร่วมกิจกรรมกลุ่ม นำเสนอผลงาน ประเมินการเรียนรู้ร่วมกับครูและเพื่อนซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งคำถาม หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมโดยกระตุ้นเร้าความสนใจให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงจากขั้นนำโดยครูใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กมุ่งความสนใจสู่เรื่องที่จะเรียน
ขั้นที่ 2 แสวงหาสารสนเทศ หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากข้อสงสัยด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม วางแผนการสำรวจตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การสำรวจ สังเกต สืบค้น ทดลอง การสนทนา ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น บันทึกข้อมูลการสำรวจตรวจสอบ
ขั้นที่ 3 สร้างความรู้ หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กนำสิ่งที่ค้นพบจาก
การสำรวจ สังเกต สืบค้น มาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยครูเชื่อมโยงสรุปความรู้เพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้องและบันทึกข้อมูลความรู้
ขั้นที่ 4 สื่อความหมาย หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กนำเสนอบันทึก
ข้อมูล สรุปความรู้ด้วยการพูดอธิบาย มีกิจกรรม
ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์และนำไปใช้ หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ โดยครูใช้คำถามให้เด็กหาคำตอบจากเหตุการณ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิม ซึ่งเด็กตอบได้ หลากหลายวิธี เช่น การเล่าหรือสร้างผลงานใหม่ ครูสังเกตการให้เหตุผลของเด็ก ในการนำ ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยการนำแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์ การดำเนินชีวิตตามหลักพอเพียง
1.3 ขั้นสรุป หมายถึง การสรุปเรื่องที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผ่านการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น การแสดงผลงาน
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถใน การแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทำให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้
4.1 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังใช้รูปแบบ การจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
4.2 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
4.3 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากถือว่าผ่านเกณฑ์