โรงเรียนวัดเขานางเภา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของขยะที่เกิดขึ้นทั้งในโรงเรียนและชุมชน ส่งผลให้เกิดปัญหาของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้โรงเรียนต้องดำเนินการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักให้กับนักเรียนในปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชน ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในการจัดการขยะตามความสามารถของผู้เรียน โดยโรงเรียนมีแนวทางการดำเนินการจัดการเรียนรู้การจัดการขยะให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับปฐมวัยและในระดับประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งโรงเรียนได้มีการวางแผนร่วมกันกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการจัดการขยะให้กับนักเรียนอย่างเป็นระบบ และขั้นตอน 5 ขั้นตอน เกิดเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการขยะด้วยรูปแบบ 5 STEP (3P2C) ของโรงเรียนโรงเรียนวัดเขานางเภา โดยมีขั้นตอนในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
STEP 1 : Planning from a prior knowledge base (วางแผนจากฐานความรู้เดิม)
โรงเรียนวัดเขานางเภา ได้ใช้แนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะในปี 2564 เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ปริมาณขยะในโรงเรียน กระบวนการจัดการขยะในโรงเรียนที่ผ่านมาและผลลัพธ์ในการดำเนินงาน ซึ่งโรงเรียนมีวิธีการดำเนินการดังนี้
(1) มีการวางแผนร่วมกันในเบื้องต้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางการในการดำเนินงานการจัดการขยะร่วมกันกับชุมชน ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อต่อยอดความรู้สู่ครัวเรือย
(2) นำกรอบการดำเนินงานมาวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน เพื่อร่วมกันกำหนดวิธีการดำเนินการจัดการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นเรียน ตลอดจนการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ
(3) กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน
STEP 1 : Create Knowledge (การสร้างองค์ความรู้ใหม่)
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้โรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนใน ๕ รูปแบบ คือ On-site, On-line, On-demand, On-air และ On-hand ซึ่งในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดเขานางเภา ได้จัดการเรียนการสอนใน 3 รูปแบบ คือ On-line, On-demandและ On-hand เป็นหลัก และเปิดการเรียนแบบ On-site เพิ่มอีก 1 รูปแบบในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ปรับกระบวนการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการขยะให้กับนักเรียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยโรงเรียนมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้
(1) จัดการอบรมการกำจัดขยะและปลอดขยะในสถานศึกษาให้กับนักเรียนในรูปแบบ On-line ให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับนักเรียนในช่วงที่นักเรียนไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ โดยนักเรียนจะมีเอกสารประกอบการอบรม
(2) นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการอบรวมไปประยุกต์ใช้ในครัวเรือน โดยศึกษาจากเอกสารความรู้และ นำความรู้สู่การปฏิบัติในครัวเรือนของนักเรียน เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
STEP 2 : Put Knowledge into practice (นำความรู้สู่การปฏิบัติ)
เมื่อนักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะ การคัดแยกขยะโดยผ่านการอบรม นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในครัวเรือนในช่วงที่นักเรียนเรียนรู้ด้วยรูปแบบ On-hand และการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาช่วงการเรียนในรูปแบบ On-site ที่โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนจะมีแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน การประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการขยะ การคัดแยกอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการจัดการขยะทั้ง 4 รูปแบบได้เป็นอย่างดี
STEP 4 : Creative work (การสร้างสรรค์ผลงาน)
เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะในสถานศึกษาและในครัวเรือน มาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำแล้ว นักเรียนสามารถประยุกต์ความรู้ ต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ มาสร้างสรรค์ผลงานของตนเองที่ประดิษฐ์ขึ้นจากการนำขยะมาใช้ เช่น การประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ หรือการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ในรูปแบบใหม่ เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนได้นักเรียนเกิดการสร้างองค์ความรู้ พัฒนา ปรับปรุงและต่อยอดความรู้สู่การสร้างผลงานเป็นของตนเอง ส่งผลให้นักเรียนได้เกิดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
STEP 5 : Present work (การนำผลงาน)
เมื่อนักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากการนำขยะในแต่ละประเภทมาสร้างสรรค์เป็นผลงานแล้ว นักเรียนสามารถนำเสนอผลงานที่สร้างขึ้นได้ ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นรูปแบบสิ่งของที่ประดิษฐ์จากการแปรรูปขยะ หรือการนำขยะมาประยุกต์ใช้เป็นฐานในการปลูกพืช เช่น การปลูกถั่วงอกจากขวดพลาสติก ตะกร้าพลาสติก การประดิษฐ์กระเป๋าจากกล่องนม เป็นต้น ซึ่งนักเรียนสามารถนำผลงานที่สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นไปจำหน่ายออกสู่ชุมชนได้
ซึ่งจากผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการขยะด้วยรูปแบบ 5 STEP (3P2C) ในปีการศึกษา 2564 พบว่า
1. นักเรียนโรงเรียวัดเขานางเภา รู้จักประเภทของขยะ สามารถบริหารจัดการขยะ แยกขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อการวัดผลความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียน พบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่สูงขึ้น
2. โรงเรียนวัดเขานางเภา ได้รับการคัดเลือกผลงานนวัตกรรมการบริหารจัดการที่เป็นแบบอย่างได้ในโครงการติดตามการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. โรงเรียนวัดเขานางเภา ได้ผ่านเกณฑ์ในระดับมาตรฐาน ในโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ประจำปี 2564 จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมราชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการขยะด้วยรูปแบบ 5 STEP (3P2C) อยู่ในระดับดีมาก