ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์
สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัย : นางพัชรพร สันติวิจิตรกุล
ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทฤษฎีแนวคิดผลการวิจัยในประเทศและต่างประเทศและการศึกษาสภาพความเป็นจริงในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนและนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเป็นร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ครั้งที่ 1) แล้วนำเนื้อหาของร่างรูปแบบ (ครั้งที่ 1) มาจัดทำเป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับเพื่อใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มในโรงเรียนคือ ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและประเมินประสิทธิภาพของร่างรูปแบบ (ครั้งที่ 1) โดยศึกษาจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มรวมทั้งสิ้น 285 คน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
ขั้นตอนที่ 2 นำผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามที่เป็นเนื้อหาของร่างรูปแบบ (ครั้งที่ 1) มาวิเคราะห์สังเคราะห์ความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) หรือF-test และใช้วิธีการทดสอบหาความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)
ขั้นตอนที่ 3 นำผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลมาปรับเป็นร่างรูปแบบ (ครั้งที่ 2) และนำร่างรูปแบบ (ครั้งที่ 2) เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิโดยจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจากการสนทนากลุ่มมาปรับเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอต่อ กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก ต่อไป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 รูปแบบการมีส่วนร่วม ส่วนที่ 2 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
2. ในส่วนที่ 1 รูปแบบการมีส่วนร่วมมี 5 องค์ประกอบคือ หลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ของรูปแบบลักษณะการมีส่วนร่วม ระดับการมีส่วนร่วม และบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ในส่วนที่ 2 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้นั้น ควรเร่งรัดกำหนดนโยบาย เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง จูงใจอาสาสมัครโรงเรียนนำร่องและมีทีมงานสนับสนุนด้านวิชาการและทุนวิจัย
4. ในส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบประกอบด้วย ผู้บริหารมีความสามารถ มีเทคนิคและแก้ปัญหาได้ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำตามบทบาทหน้าที่อย่างจริงจัง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุนกิจกรรมของผู้ปกครอง ครูสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนเพื่อเชื่อมโยงต่อกับผู้ปกครองให้ความสำคัญกับผู้ปกครองทุกคนและผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง มีความศรัทธาต่อกันภายใต้บริบทของวัฒนธรรมไทย
ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ผลการทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า มีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านวิชาการ ด้านบริหารทั่วไป ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล ตามลำดับ