ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางสุวรรณี เทียมทัด ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตาพด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตาพด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 10 ข้อ สำหรับสถิติที่ใชในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ( ) และการทดสอบค่าที (t-test dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ โดยมีค่าประสิทธิภาพ ( ) เท่ากับ 84.27/83.87
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข มีความแตกต่างกันโดยหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สุขภาพดี มีความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวม
พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70