ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางสุวรรณี เทียมทัด
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตาพด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬา ฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 เท่ากับ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจากการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬา ฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตาพด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 67 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตาพด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน
ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่
1) แบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม
2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 17 แผน
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้ แบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพโดยรวม E1/E2 เท่ากับ 87.06/85.25 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยทั้ง 7 เล่ม มีค่า E1 อยู่ระหว่าง 82.27 89.24 และมีค่า E2 เท่ากับ 85.25 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่า t-test เท่ากับ 29.239 มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.14 และก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.80 มีค่าความแตกต่างเฉลี่ยเท่ากับ 9.67 และ 4 ) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติ กีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 ซึ่งมีความพึงพอใจในข้อที่ ครูดูแลเอาใจใส่ และให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดมากกว่าข้ออื่น รองลงมา ได้แก่ ครูแนะนำให้นักเรียนปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นักเรียนมีทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอลได้ถูกต้องมากขึ้นและมีเนื้อหา ที่เข้าใจง่าย