บทคัดย่อ
การทำรายงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษา 2.เพื่อศึกษาความ พึงพอใจในการดำเนินโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจํานวน 233 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษากรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ของผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา และแบบสอบถาม มีจํานวน 3 ฉบับ แบ่งเป็นฉบับนักเรียน ฉบับครูและฉบับผู้ปกครอง มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) มีค่าอํานาจจําแนกระหว่าง0.25-0.69 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84,0.87 และ 0.98 ตามลําดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
พบว่าผลการประเมินโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(สถานศึกษาพอเพียง) โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอ ยู่ในระดับมาก ( = 4,16, S.D. = 0.55) และเมื่อเรียงลําดับเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสม มากที่สุดคือ ด้านบริบท ( = 4.19, S.D.= 0.58) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ ( = 4.16, S.D.= 0.56) ด้านปัจจัยนําเข้า ( = 4.16, S.D. = 0.55) และด้านผลผลิต ( = 4.16, S.D.= 0.54) ตามลําดับ
ผู้วิจัย
ABSTRACT
The conduct of this research report is intended 1. To evaluate educational programs exemplified in learning activities and management. School Management Curriculum and Learning Management In the field of learner development activities, teacher development and staff development of the school 2.To study the satisfaction of implementing educational programs, exempting learning activities and managing according to the philosophy of Sufficiency Economy (Sufficiency Education). of Municipal School 4 (Sittichai foster) under Samut Prakan Municipality, Samut Prakan Province with CIPP assessment model. Data collection was collected from a group of 233 informants, including school administrators. Teachers and Education Personnel, School Directors Students and Parents The tools used to collect data include interviews with administrators and school boards, and three questionnaires, divided into student, teacher and parental versions. The rating scale has a power difference between 0.25-0.69 and a confidence value of 0.84,0.87 and 0.98, respectively.
It found that the results of the assessment of educational institutions exemplated learning activities and management according to the philosophy of Sufficiency Economy (Sufficiency Education). Overall The most appropriate aspects are highly appropriate (X = 4,16, S.D. = 0.55), and when sorted side by side, the most appropriate aspects are contextual (X = 4.19, S.D.= 0.58), second only to process (X= 4.16, S.D.= 0.56), input side (X= 4.16, S.D. = 0.55) and output side (X= 4.16, S.D.= 0.54), respectively.
Researcher
กิตติกรรมประกาศ
รายงานฉบับนี้สําเร็จสมบูรณ์ขึ้นมาได้ โดยได้รับความเมตตากรุณาจากท่านผู้อำนวยการ ชรัตน์ สินธุสอาด ผศ.ดร.มาโนช บุญทองเล็ก ผศ.ประวิทย์ ฤทธิ์บูลย์ ผศ.ริสสวัณ อรชุน ที่ให้คําแนะนําเสนอแนะแนวทางในสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้วิจัย ที่คอยดูแลเอาใจใส่ในทุกๆ กระบวนการทํางานซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้แก่ผู้วิจัยเป็นอย่างดียิ่ง และได้สละเวลาอันมีค่าในการตรวจสอบความถูกต้องของงานด้วย ความเมตตาที่มีต่อผู้วิจัย จึงทําให้เกิดผลสําเร็จขึ้นกับงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของท่านจึงขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณท่านสิบโท ดร.ศักดิ์ดา แจ่มแจ้ง ที่กรุณาให้คําปรึกษาเสนอแนะแนวคิด ตรวจสอบ และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ชี้แนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ จนรายงานฉบับนี้มีความสมบูรณ์ขอขอบพระคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิ 1.รศ.ว่าที่เรือตรี ดร. เอกวิทย์ มณีธร 2.รศ.ดร.สฎายุ ธีรวณิชตระกูล 3.รศ.ดร.วิทยา ชินบุตร 4.ผศ.ร.ต.อ.ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล 5.ดร.ภูนท สลัดทุกข์ 6.ดร.สำเนียง มณีฉาย ที่กรุณาให้คําปรึกษาเสนอแนะแนวคิดต่างๆ ตลอดจนชี้แนะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้วิจัย คณะครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) ที่กรุณาตอบแบบสอบถามและให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์
ขอขอบพระคุณครอบครัวที่คอยให้กําลังใจในการทํารายงานเล่มนี้ และทุกท่านที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนเขียนเอกสารตําราที่ผู้วิจัยได้ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงในการทํารายงานจนสําเร็จ
ผู้วิจัยขอน้อมบูชาพระคุณของมารดา บิดา บูรพาจารย์ รวมทั้งผู้มีพระคุณทุกๆท่านที่มีส่วนร่วมส่งเสริม สนับสนุน และให้กําลังใจผู้วิจัยด้วยดีเสมอมา
(นางวารุณี วงศ์พิมพ์พระ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์)