ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม
ผู้วิจัย นางสาวอมรพรรณ พานแก้ว ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
กองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดการพัฒนาสมรรถนะครู
ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาล
เมืองท่าข้าม 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม 3. เพื่อทดลองใช้
รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม 4. เพื่อศึกษาผลการนํารูปแบบการนิเทศ
เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม การดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น
4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบตัวชี้วัดและศึกษาสภาพปัจจุบัน
สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาผลการสร้าง
และการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริม
ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม ระยะที่ 3 ศึกษาผลการทดลอง
ใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้ามระยะที่ 4 ศึกษาผลการนํารูปแบบการนิเทศ
เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้ามไปใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค Modified Priority Needs Index (PNlModified)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม ประกอบด้วย
องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย และ 37 ตัวชี้วัด ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด และสภาพปัจจุบันการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์
เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม โดยรวม
อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริม
ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ
ของรูปแบบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เป้าหมายของรูปแบบ
4) เนื้อหาและกิจกรรมพัฒนาของรูปแบบ ประกอบด้วย 6 หน่วย คือ 4.1) การกำหนดจุดมุ่งหมาย
การจัดประสบการณ์ 4.2) การพิจารณาความพร้อมของเด็กปฐมวัย 4.3) การกำหนดเนื้อหา
4.4) การจัดกิจกรรมประสบการณ์ 4.5) การประเมินผล และ 4.6) ข้อมูลป้อนกลับ ใช้ระยะเวลา
118 ชั่วโมง วิธีการพัฒนา ได้แก่ การอบรม และการพัฒนาตนเองโดยดำเนินการพัฒนา 4 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 2 การพัฒนา ขั้นที่ 3 การบูรณาการระหว่างปฏิบัติงาน
และขั้นที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนา การประเมินผลรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า
ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้และความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม เด็กปฐมวัย
มีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการพัฒนา
สมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียน
สังกัดเทศบาลเมืองท่าข้ามทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัด
ประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม
พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาหลังจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองท่าข้ามสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ