กรอบการนำเสนอ
หลักเกณฑ์การส่งผล นวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๒
ประเภทผลงาน (  ) ผู้บริหาร
ประเภทผลงาน ( ) ครู ( ) ระดับปฐมวัย
( ) ระดับขั้นพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไป
ตำเเหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายโรงเรียนชุมพลบุรี 3
ชื่อ-สกุล นายถาวร สมรูป
ตำเเหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา
ชื่อผลงาน การบริหารสถานศึกษาด้วยรูปแบบ SILA Model
โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
1. ความสำคัญของผลงาน
1.1 ความสำคัญสภาพปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) มุ่งการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้าน ให้ทุกคน ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นกรอบนโยบายและแนวทางในการปฏิรูป การศึกษาของประเทศ โรงเรียนและหน่วยงานทางการศึกษาซึ่งหมายรวมถึงโรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วยด้วย ได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาตามกรอบแนวทางดังกล่าวมาโดยตลอด พบว่าคุณภาพผู้เรียนไม่เป็นไปตามที่ มุ่งหวัง จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของการศึกษาขั้นพื้นฐาน คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้ง ประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำและมีแนวโน้มลดลง (สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติวิกฤตการศึกษาไทย, 2553) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีข้อเสนอเรื่องการปฏิรูป การศึกษาโดยให้มีการปฏิรูประบบการบริหารจัดการการศึกษา ระบบการเงินการคลัง ระบบการเรียนรู้ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.สภาวะการศึกษาไทย, 2559) เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา ของไทย
1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา
โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย ใช้การบริหารด้วยรูปแบบ SILA Model บนพื้นฐานปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในการดำเนินการ การวิเคราะห์ ความพอประมาณด้านงบประมาณ ที่จะต้องใช้ในการดำเนินโครงการ ความพอเพียงของครูและบุคลากร หลักการและเหตุผลในการดำเนินโครงการ ความคุ้มค่า ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีการวางแผนการทำงานตามวงจร PDCA เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ให้กับการทำงาน นอกจากนี้ยังบริหารจัดการโดยใช้หลักการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และหลักธรรมาภิบาล ตามเงื่อนไขคุณธรรม มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างรอบคอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนิน การพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพการปฏิบัติงานสูงขึ้น และมีมาตรฐานการทำงาน ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นให้การนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับ ผู้เรียนและและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ครูและ บุคลากรของโรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อยกระดับ คุณภาพขององค์กร ซึ่งมีผลต่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. จุดประสงค์และเป้าหมาย
จุดประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพองค์กรด้วยการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ SILA Model
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. เพื่อให้โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการและกระบวนการทำงานด้วยระบบคุณภาพ
2. เพื่อให้โรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ได้มาตรฐาน
3. เพื่อให้โรงเรียนจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน
4. เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
5. เพื่อให้ครูบุคลากร นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โรงเรียน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. โรงเรียนมีการกำาหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดระดับองค์กรและระดับกลุ่มงาน ทุกกลุ่มงาน
2. ครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนมีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและตัวชี้วัด
3. กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรคในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก การศึกษา และศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอย่างยั่งยืน ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเพื่อกำหนดรูปแบบ ขอบข่าย แนวทางในการพัฒนา และ แก้ปัญหาการบริหารจัดการศึกษา สร้างรูปแบบการบริหารที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และเอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ใช้รูปแบบการบริหารชื่อ SILA Model
S : strategy : การบริหารเชิงกลยุทธ์(Strategic Management) มีการวางแผนกลยุทธ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและบุคลากรภายนอก โรงเรียน วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน (SWOT Analysis) กำหนดทิศทางของโรงเรียนภายใต้ กรอบวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ จัดทำแผนกลยุทธ์ ขั้นตอนสำคัญคือ
1) การกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ
2) การกำหนดแผนกลยุทธ์
3) การจัดทำแผนกลยุทธ์
4) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ระยะยาวและแผนปฏิบัติราชการประจำปี
5) การสื่อสารและการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติและกำกับดูแล และ
6) การติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน
I : integration : การบริหารงานแบบบูรณาการ (Integrated Management) โดยมีการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ร่วมกันวางแผน (Plan) ร่วมกัน ปฏิบัติตามแผน (Do) ร่วมกันตรวจสอบ (Check) ร่วมกันปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง (Action) จัดทีม นำคิด ทีมกำกับการทำงานและทีมติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของ องค์กรอย่างชัดเจน และมีกระบวนการที่ผสานกลมกลืน แผน สารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากร การ ปฏิบัติการ ผลลัพธ์ และการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ที่สำคัญของโรงเรียน มีความสอดคล้องไป ในแนวทางเดียวกัน (Alignment)และแต่ละองค์ประกอบภายในระบบการจัดการมีความเชื่อมโยงกัน เป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์ S : strategy I : integration y : youth A : achievement 4
L : Learner : ผู้เรียน : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบริหารจัดการมุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Child Centered โดยมีการระดมทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ความสำคัญต่อเสียงหรือ ความคิดเห็นของผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถตามศักยภาพและตามความ เหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ถาวร และผู้เรียนมีพัฒนาการตามที่ต้องการ
A : achievement : การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) มีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ โดยผู้บริหาร ครูและบุคลากร มีความมุ่งมั่นในการ ปฏิบัติหน้าที่ให้ได้หรือเกินมาตรฐานที่มีอยู่ และสร้างสรรค์พัฒนาผลงาน กระบวนการปฏิบัติงานตาม เป้าหมายที่ท้าทายและมีความยั่งยืน
Core Competency : ทำงานเป็นทีมด้วยระบบคุณภาพ PDCA
Good Governance : หลักธรรมาภิบาล ด้านหลักนิติธรรม มีการอบรมให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้ทราบในข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้านหลักคุณธรรม สร้างทัศนคติด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่บุคลากร ส่งเสริมให้ บุคลากรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีจิตสาธารณะ ด้านหลักความโปร่งใส การบริหารงานมีความชัดเจนในเรื่องของงบประมาณที่น าไปใช้มีการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการบริหารงานพร้อมที่จะตรวจสอบได้ ด้านหลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน ทำให้การบริหารงานมีความชัดเจน และมีประสิทธิภาพ ด้านหลักความรับผิดชอบ ครูและบุคลากรในสถานศึกษามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความ รับผิดชอบต่อหน่วยงาน ผู้บริหารสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความรับผิดชอบและ เอาใส่ต่อการทำงานอย่างเต็มที่ ด้านหลักความคุ้มค่า ครูและบุคลากรในสถานศึกษามีจิตสำนึกต่อการใช้วัสดุอุปกรณ์อย่าง ประหยัดและคุ้มค่า ผู้บริหารจัดสรรงบประมาณและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม สร้างความรู้ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียน SILA Model ไปใช้ดำเนินงานในทุกภาคส่วน มีการกำหนดแนววิธีดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายใน อนาคต เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถพัฒนานวัตกรรม มีการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้าง คุณค่าให้กับโรงเรียนผ่านกระบวนการการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ
สรุป/รายงานผล/เผยแพร่ ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบ ประเมินผล คุณภาพ ผู้เรียน การบริหารจัดการ กระบวนการ งบประมาณและทรัพยากร สร้างรูปแบบการบริหาร ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค วิเคราะห์ข้อมูล ไม่บรรลุ บรรลุ
3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน โรงเรียนกำหนดให้มีการนำกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ไปปฏิบัติ เป็นลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน สามารถ นำไปปฏิบัติได้จริง โดยจัดให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีและแผนกลยุทธ์ปีงบ ประมาณ 2564-2568 และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบงาน/กิจกรรม/โครงการ ให้จัดทำ ร่างงาน/กิจกรรม/โครงการเสนอต่อคณะที่ปรึกษางานบริหารโรงเรียน ซึ่งมีหัวหน้างานแผนงานเป็น เลขานุการ พิจารณาความเป็นไปได้และอนุมัติงบประมาณ แล้วจึงนำแผนไปปฏิบัติตามกรอบเวลาที่ กำหนดไว้ มีการกำกับ ติดตาม ดูแลและประเมินผลเทียบกับเป้าหมาย เพื่อให้ปรับปรุงหรือพัฒนาสู่ ความเป็นมาตรฐานหรือเป็นต้นแบบในการปฏิบัติในเรื่องเดียวกันหรือพัฒนาสู่เรื่องอื่น ๆ ได้อย่างมี คุณภาพต่อไป
3.4 การใช้ทรัพยากร โรงเรียนใช้แผนกลยุทธ์เป็นกรอบในการวางแผนจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยมีการจัดทำประมาณการรายได้ ได้แก่ เงินอุดหนุน หรือเงินงบประมาณจากโครงการต่าง ๆ แล้วแจ้งให้ กลุ่มบริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มงาน ได้รับทราบ เพื่อให้แต่ละกลุ่มไปจัดทำโครงการพร้อมประมาณการค่าใช้จ่ายของตนเองและนำมาเสนอถึงความต้องการจำเป็นในการใช้งบประมาณในที่ประชุมคณะกรรมการ แผนงานเพื่ออนุมัติงานและงบประมาณรายจ่าย ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาถึงความสอดคล้องของ งาน/กิจกรรม/โครงการ กับแผนกลยุทธ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ เพื่อจัดสรรงบประมาณอย่างทั่วถึงและ เป็นธรรม โดยใช้หลักการตามแนวปฏิบัติของสำนักนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งงาน นโยบายและแผนโรงเรียน ต้องจัดทำสรุปการจัดสรรงบประมาณประจำปีเสนอขอผ่านความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน และการเบิกจ่ายงบประมาณต้องเป็นไปตามแผน ปฏิบัติราชการที่อนุมัติแล้วเท่านั้น
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ โรงเรียนยกระดับคุณภาพองค์กรด้วยการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ SILA Model มีรูปแบบการบริหารจัดการและกระบวนการทำงานด้วยระบบคุณภาพ มีมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ สนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน นักเรียนมีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา ครู บุคลากร นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียนในการพัฒนาโรงเรียนมี การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดระดับองค์กร และระดับกลุ่มงาน ผลการดำเนินงาน ตามกิจกรรมที่ออกแบบตามแผนปฏิบัติราชการ ครอบคลุมทุกมาตรฐานและตัวชี้วัด บรรลุวัตถุประสงค์ ของงาน/กิจกรรม/โครงการ
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนั้น พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดเกือบทุกกลุ่มสาระ ยกเว้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ส่วนผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ พึงประสงค์ สูงกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ทุก
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ จากการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ออกแบบตามแผนปฏิบัติราชการ ครอบคลุมทุก มาตรฐาน และตัวชี้วัด ก่อให้เกิดงาน/กิจกรรม/โครงการ ที่หลากหลาย ร่วมกันส่งผลให้เกิดผลในทางพัฒนา นักเรียนอย่างรอบด้านและทั่วถึงเพราะงาน/กิจกรรม/โครงการของโรงเรียนมีหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแบบ เฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มคัดสรร กลุ่มสมัครใจ กลุ่มสนใจ หรือกิจกรรมที่จัดทำเพื่อให้ทุกภาคส่วนใน โรงเรียนมีส่วนร่วม ทั้งเป็นงาน/กิจกรรม/โครงการที่โรงเรียนจัดขึ้น หรือเข้าร่วมกับโครงการ/กิจกรรม ของหน่วยงานอื่น ๆ เช่น การประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหาร จัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลัก 3 ห่วง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความพอประมาณ 2 เงื่อนไข เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม 4 มิติ ได้แก่ วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สมดุล/พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต การเข้า ร่วมโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชน นักเรียนทั้งโรงเรียนฝึกนิสัยร่วมกันลดใช้พลังงานและนำไปใช้ที่ บ้านตนเอง หรือการเข้าร่วมลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อส่งเสริมความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ เป็นโครงการที่ต้องพัฒนาทักษะวินัยเชิงบวกของนักเรียนทั้งโรงเรียน ให้มีนิสัยรักความสะอาด รักความเป็นระเบียบ รักความสุภาพ รักความตรงต่อเวลาและมีความผ่องใสเป็นสมาธิ โรงเรียนระบบการบนิหารด้านศีลธรรมที่ชัดเจน ครูมีคุณลักษณะของศีลธรรมพื้นฐาน และความดีสากลและสามารถเป็นต้นแบบครูดีได้มีการสร้างเครือข่ายด้านศีลธรรม และมีการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนด้านศีลธรรม นักเรียนมีคุณลักษณะของศีลธรรมพื้นฐานและความดีสากล มีความเป็น ต้นแบบด้านศีลธรรม องค์กรนักเรียนมีการสร้างเครือข่ายด้านศีลธรรม เป็นต้น
5. ปัจจัยความสำเร็จ ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นให้การนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ ความสำคัญกับผู้เรียนและและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ของ องค์กร เพื่อยกระดับคุณภาพขององค์กร ปัจจัยความสำเร็จมีดังนี้
1) การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการบรรลุพันธกิจ โดยนำข้อเสนอของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาเป็นแนวทางในการบริหารองค์กร ให้เกิดความยั่งยืน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากร มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องด้วยระบบคุณภาพ PDCA มีการติดตามประเมิน ผลการปฏิบัติงานรายบุคคล (SAR) และมีการสร้างแรงจูงใจและความผูกพันของบุคลากร
2) การสร้างวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรด้วยการทำงานเป็นทีม
3) การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม สนับสนุนให้ครูมีการพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่องและมีการจัดการความรู้ เพื่อนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา โรงเรียนและสร้างนวัตกรรม และสรุปผลงานไว้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีและที่เป็นเลิศตามลำดับ ใช้เป็น ต้นแบบแก่ครูรุ่นน้องหรือเพื่อนครูได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดอย่างก้าวกระโดด
4) การวางแผนการสร้างองค์กรที่ยั่งยืนอย่างมีระบบ โดยการสืบทอดตำแหน่งและพัฒนาผู้นำ ในอนาคตของโรงเรียน สนับสนุนให้ครูและบุคลากรเรียนรู้การปฏิบัติงานในฐานะ ประธานกลุ่มสาระการ เรียนรู้หัวหน้างาน หัวหน้าโครงการ มีกระบวนการสรรหา มีวาระคราวละ 2 ปี
6. บทเรียนที่ได้รับ
6.1 บทเรียนที่ได้รับ
1) การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการบรรลุพันธกิจ ผู้บริหารโรงเรียน ควรนำวิสัยทัศน์ ข้อเสนอแนะของคณะกรรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียมาเป็นแนวทางการบริหารองค์กรให้เกิดความยั่งยืน และควรเปิดโอกาสให้มีการร่วม ประชุม วิเคราะห์องค์กร งาน ตำแหน่งและบุคลากร ทำให้สามารถวางแผนพัฒนาองค์กรได้อย่างรอบด้าน มี ประสิทธิภาพ ซึ่งการกำหนดทิศทางของโรงเรียนได้ถูกต้องเพียงใดขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สภาพ แวดล้อมของโรงเรียนอย่างครอบคลุม เที่ยง และตรง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากร การใช้ เสียงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นตัวชี้วัดวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหา ทำให้เกิดการยอมรับและลด การต่อต้านและแผนปฏิบัติการประจำปีเป็นคู่มือสำคัญในการจัดการศึกษาของโรงเรียนผ่านคำสั่งและ โครงการ/กิจกรรม
2) การทำงานเป็นทีม ควรเกิดจากความต้องการหรือเห็นความจำเป็นจากส่วนรวม หรือ ต้องทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญจำเป็นของงาน/กิจกรรม/โครงการ ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อม จึงจะได้รับความร่วมมือ
3) การสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจัด การ ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีคุณภาพ จะได้ข้อสนเทศที่มีความตรงตามสภาพ มีประโยชน์ต่อ การวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป
4) การสนับสนุนให้มีการปรับปรุงและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบคุณภาพ PDCA ซึ่งการรายงานผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบุคลากรทุกคน ควรทำอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้แก้ไข ทันท่วงที ไม่จำเป็นต้องรอจนจบโครงการ โดยใช้วงจรเดมมิ่ง PDCA ซ้ำหลาย ๆ รอบจนกว่าจะได้ผล ตามวัตถุประสงค์หรือเป็นมาตรฐาน
5) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล (SAR)
6) การสร้างแรงจูงใจและความผูกพันของบุคลากร พบว่า การรวมพลัง เปิดใจ หลาย ความคิด สามารถช่วยให้ปัญหาคลี่คลายและดำเนินสู่ความสำเร็จได้การดำเนินงานในปัจจุบันมีผลการ ประเมิน อยู่ในระดับที่สะท้อนถึงความผูกพันอย่างแท้จริง สังเกตจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร ใน โรงเรียน พบว่าบุคลากรอุทิศตนในการทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งในและนอกเวลาราชการ
7) การวางแผนองค์กรระยะยาว โดยวางแผนการจัดอัตรากำลังทดแทนบุคลากรที่ เกษียณ อายุราชการ ลาออกจากราชการ หรือย้ายโรงเรียน ล่วงหน้า เพื่อให้ได้บุคลากรทดแทนที่มีความรู้ ความสามารถตรงตามความจำเป็น
8) มีการระดมสรรพกำลัง สร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษา โดยการสร้างความสัมพันธ์ กับศิษย์เก่าและบุคลากรที่เคยปฏิบัติงานในโรงเรียน เช่นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและครูคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
9) สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ โดยการพัฒนาครูและบุคลากร อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ครูที่มีวุฒิตรงตามสาขาวิชาที่สอนและมีความรู้ความสามารถใน การจัดการเรียนการสอน ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและสามารถสรุปผลงานไว้เป็นแนวทาง ปฏิบัติที่ดีและที่เป็นเลิศตามลำดับ ใช้เป็นต้นแบบแก่ครูรุ่นน้องหรือเพื่อนครูได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาต่อยอด เป็นผลเชิงประจักษ์ เช่น ในหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ แม้จะมีครูเกษียณอายุราชการจำนวนมาก แต่ผลการพัฒนานักเรียนด้านวิชาการหรือการแข่งขันทักษะต่าง ๆ ยังคงดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10) มีการสร้างขวัญกำลังใจและความรักความผูกพันของบุคลากร ทำให้เกิดการถ่าย ทอดวัฒนธรรมการทำงานและทักษะทางการสอน รวมถึงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการติดตาม นักเรียนที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย มีความรักความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ ทำให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก ไม่มีการทำโทษหรือใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ใช้วินัยเชิงบวกแทนการลงโทษ
6.2 ปรับคุณภาพมุ่งพัฒนาต่อไป
1) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เข้าใจ ใส่ใจ และให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้ง ที่เกิดจากครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน อย่างจริงใจและรวดเร็ว อันส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่มี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 2) นำหลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเข้ามาเป็นแนวทางในกระบวน การทำงานควบคู่กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ถือเป็น งานสำคัญที่สุดในการจัดการศึกษา
4) สภาพแวดล้อมในการเรียนที่สะอาด สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อยและ ปลอดภัย ทำให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนและส่งผลพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในที่สุดดังนั้นโรงเรียน จะทบทวนนโยบาย 5 ส: สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย มาใช้เป็นแนวทางเตรียม ความพร้อมด้านกายภาพแก่นักเรียน ทั้งโรงเรียน
6.3 ข้อควรพึงระวัง
1) ในการกำหนดทิศทางของโรงเรียนได้ถูกต้องเพียงใดขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สภาพ แวดล้อมของโรงเรียนอย่างครอบคลุม เที่ยงและตรง อย่าตัดสินใจเลือกเพราะเป็นค าพูดหรือความคิด ของผู้มีชื่อเสียง หรือเพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
2) การทำงานใด ๆ แม้วางแผนอย่างดีแล้วเวลาดำเนินงานจริงอาจมีสิ่งแทรกซ้อนที่ ทำให้ไม่สามารถทำตามแผนได้ ต้องมีการวางแผนสำรองปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือวางภูมิคุ้มกัน ทั้งด้าน กำลังบุคลากร เวลาและงบประมาณ อาจต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าจะประสบความสำเร็จ
3) การทำงานเป็นทีม ทีมควรเกิดจากบุคลากรที่มีความต้องการหรือความเห็นร่วมกัน หรือต้องทำให้ทุกฝ่ายเห็นหรือจับต้องได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อม จึง จะได้รับความร่วมมือ
4) ควรให้ความสำคัญกับทีมงานทุกคนในการนำเสนอความคิดเห็นและทำให้เขารู้สึก ว่าเป็นเจ้าของโครงการร่วมรับผิดชอบในผลงานและภาคภูมิใจในความสำเร็จ
5) การติดตาม กำกับดูแลการทำงาน ควรเลือกใช้วิธีการสื่อสารเชิงบวกทำให้เกิดแรง บันดาลใจในการทำงานมากขึ้น