ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการ
อนุรักษ์ที่ยั่งยืน โรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด
นครราชสีมา
ชื่อผู้ประเมิน นายสกุลพงศ์ โชคศิริชัยภักดิ์
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัย การอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบตามรูปแบบCIPPIEST Model ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา 4) เพื่อประเมินประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา 6) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา 7) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา และ 8) เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน นักเรียน 232 คน และผู้ปกครอง 232 คน ได้จากผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 498 คน การประเมินในครั้งนี้ ดำเนินการในระหว่างวันที่ 1-29 กุมภาพันธ์ 2563 โดยการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ประเมินเชิงระบบและวิเคราะห์ประเมินพฤติกรรมนักเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการดำเนินกิจกรรม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการประเมินพบว่า
1. ภาพรวมของโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน โรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา มีผลการประเมินระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่และเวลาในการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ มีความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินการ วิธีการจัดกิจกรรม การดำเนินโครงการตามแผน อยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด อยู่ในระดับมากที่สุดและนักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ในการดำเนินงานของทางโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
6. ผลการประเมินด้านผลกระทบของโครงการ พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจในพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนพอใจในพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
7. ผลการประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการ นักเรียนเกิดความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น อยู่ในระดับมากและนักเรียนมีความมั่นใจในความรู้ที่ได้รับ ระหว่างการเข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดและผลการทดสอบความรู้การร่วมกิจกรรม ทั้ง 6 กิจกรรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
8. ผลการประเมินด้านความยั่งยืนของโครงการ พบว่า นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ระหว่างการเข้าร่วมโครงการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุด
9. ผลการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้โครงการ พบว่า นักเรียนมีการนำประสบการณ์จากโครงการไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นและนักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในชุมชน ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุด
จากผลการประเมินโครงการโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน โรงเรียนห้วยลึกผดุงวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีความเหมาะสมที่จะดำเนินโครงการต่อไป