การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้
โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี
ผู้วิจัย นางกรกมล เพิ่มผล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ โดยใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction) ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2) เพื่อประเมินการเรียนรู้ (Learning) ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 3) เพื่อประเมินพฤติกรรม (Behavior) ที่เปลี่ยนไปของผู้เข้ารับการฝึกอบรบ และ 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร (Results) ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม แหล่งข้อมูลที่ใช้ใน การประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ 1) ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 222 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan จากนักเรียนทั้งหมด จำนวน 528 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2) แบบทดสอบด้านความรู้ความเข้าใจ 3) แบบสอบถามการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน 4) แบบสัมภาษณ์ 5) แบบสังเกต 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม 7) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน 8) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction) ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีระดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. การประเมินการเรียนรู้ (Learning) ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี หลังเข้ารับการฝึกอบรม มีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้ารับ การฝึกอบรม โดยมีคะแนนพัฒนาการร้อยละ 17.00
3. ผลการประเมินพฤติกรรม (Behavior) ที่เปลี่ยนไปของผู้เข้ารับการฝึกอบรบ
3.1 ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน
มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
3.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า โดยเฉลี่ย ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 100 ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้ที่ได้รับไปจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.3 ผลการสัมภาษณ์ หลังจากที่ได้รับการฝึกอบรม ครูได้นำความรู้ไปจัดการเรียน
การสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี โดยส่วนใหญ่ กล่าวคือเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดจากรุ่นก่อนสู่รุ่นหลัง และสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตจริงได้ ในรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีและการประกอบสัมมาอาชีพตามกลุ่มกิจกรรม ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาและกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
4. ผลการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร (Results) ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
4.1 ผลการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ อยู่ในระดับ มากที่สุด
4.2 ผลการแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อจัดการการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับ มากที่สุด
4.3 ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุด