บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
ผู้ประเมิน นางสาวเพชรวราภรณ์ พิมพ์ศรี
ปีที่พิมพ์ 2563
รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ 6) เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ผู้บริหารและครู จำนวน 31 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 196 คน และนักเรียน จำนวน 196 คน ซึ่งได้ ผู้ประเมินได้ใช้กลุ่มประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม การประเมินโครงการ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 74 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.302 ถึง 0.781 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (-Coeffcient) ตามวิธีการเท่ากับ 0.973 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 28 ข้อ ความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.362 ถึง 0.721 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (-Coeffcient) ตามวิธีการ เท่ากับ 0.944 3) การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการสัมภาษณ์ จำนวน 5 ข้อ ความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ด้านบริบท พบว่าโดยภาพรวมผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ความเหมาะสมขององค์ประกอบโครงการวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ส่งผลให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน ( = 4.50, S.D. = 0.75) รองลงมา คือ ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ กิจกรรมและการดําเนินงานของโครงการ มีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ( = 4.46, S.D.= 0.89) และ ความเหมาะสมขององค์ประกอบโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง ( = 4.43, S.D. = 0.78) ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ การบริหารจัดการจำนวนครูบุคลากรที่รับผิดชอบการดำเนินโครงการเพียงพอและเหมาะสม ( = 4.57, S.D. = 0.78) รองลงมา คือ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนมีความเพียงพอ ( = 4.57, S.D.= 0.72) และ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม ( = 4.52, S.D.= 0.62) ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ การดำเนินการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการ ดำเนินโครงการ ( = 4.61, S.D. = 0.65) รองลงมา คือ การนิเทศ กำกับและติดตาม มีการนิเทศ กำกับและติดตามย่างสม่ำเสมอ ( = 4.54, S.D.= 0.78) และ การนิเทศ กำกับและติดตาม มีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้วยวิธีที่เหมาะสมและ ทันเวลา ( =4.52,S.D.= 0.75) ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต พบว่าโดยภาพรวมผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลําดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ( = 4.58, S.D. = 0.30) รองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( = 4.56, S.D. = 0.29) และ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( = 4.54, S.D. = 0.25) ตามลำดับ
5. ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
ครูมีความพึงพอใจโดยภาพรวม ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D.=0.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุดคือ ครูดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจอย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( = 4.68, S.D.=0.54) รองลงมาคือ ผู้บริหารมีลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง ( = 4.65, S.D.=0.55) และ สถานศึกษามีคุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง ( = 4.65, S.D.=0.49) ตามลำดับ
ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจโดยภาพรวม ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.=0.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า เรียงลําดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุดคือ การจัดกิจกรรมดนตรีพัฒนาสมาธิและปัญญา(ระดับปฐมวัย) ( = 4.57, S.D.=0.69) รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมการรเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ( = 4.57, S.D.=0.64) และ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีการบูรณาการที่หลากหลาย ( = 4.55, S.D.=0.76) ตามลำดับ
6. แนวการพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ควรมีการกำหนดนโยบายลงในแผนพัฒนาการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา และวางแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ เพื่อให้มีการจัดงบประมาณให้เหมาะสมในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และควรส่งเสริมและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้หน่วยงานอื่นหรือชุมชนมาศึกษาดู ควรมีการติดตามผลการดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมทุกด้าน อย่างเป็นระบบและนำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องต่อไป
2. ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อจัดทำแผนการเรียนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆกิจกรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง ควรมีการจัดสรรงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มเติม เพื่อให้มีสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการของทุก ควรจัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุ ประสงค์ของการ มีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและเกิดความตระหนักในการปฏิบัติตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย ให้มีการกำกับติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองสามารถนำความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ปฏิบัติจริงที่บ้านได้
4. ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ควรมีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีการอบรมสัมมนาศึกษาดูงานเพื่อให้เกิดความชำนาญในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และครูจะได้มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน และมีการสรรหาบุคลากร วิทยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ตามความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ผู้บริหาร ครู บุคลากร และ ผู้เรียนควรปฏิบัติตนอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตน และควรจัดทำเผยแพร่ ผลงานของนักเรียน และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสาธารณประโยชน์ ผู้บริหาร ครู บุคลากร และ ผู้เรียนมีการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัฒน์ และอีกหลายๆด้านที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเสมออย่างรอบครอบและมีสติ