ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชาเพื่อ
ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
ผู้วิจัย นางสุชีรา หงษ์เจริญ
ปีวิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย และ 4) เพื่อสังเคราะห์และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
กลุ่มเป้าหมาย ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ) ภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2564 แบ่งเป็น ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน และนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 108 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น .9403 แบบประเมินคุณลักษณะความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยของนักเรียน (ครูประเมินนักเรียน) และ แบบประเมินคุณลักษณะความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยของนักเรียน (นักเรียนประเมินตนเอง) ฉบับละ 13 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่น .9265 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสถิติการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
สรุปได้ว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่เห็นพ้องกัน คือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ครูผู้สอนจึงเห็นตรงกันว่าการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา มาร่วมเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย เนื่องจากหลักศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อให้เป็นการเรียนรู้ที่เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการระดมความคิดในการแก้ปัญหา บนพื้นฐานของความรู้เก่าบูรณาการความรู้ใหม่ ลงมือปฏิบัติเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสร้างความยั่งยืนให้กับตนเอง บ้านเมือง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า KADE Model ซึ่งมี 7 องค์ประกอบ คือ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3.วิเคราะห์มาตรฐาน สาระการเรียนรู้ 4. ทำแผนการจัด การเรียนรู้ 5. ลงมือปฏิบัติ 6.สะท้อนผลปรับปรุง และ 7.ขั้นสรุปและประเมินผล ส่วนการจัด การเรียนรู้ประกอบด้วยกระบวนการ คือ 1. เข้าใจในสิ่งที่ทำ (Knowledge management) 2. เข้าถึง คนทุกกลุ่ม ร่วมทีม (Appreciate) 3. พัฒนา (Develop) และ 4. ขยายผล (Extend results) โดยครูผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) สร้างความเข้าใจในการดำเนินการ 2) ครูพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ครูพัฒนาการจัด การเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 4) ครูสะท้อนผลการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5)สรุปผลการจัด การเรียนรู้ และ 6) เผยแพร่/ขยายผล ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า โดยรวมรูปแบบการจัด การเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีความเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.55 โดยประเด็นที่สูงสุด คือ ครูสะท้อนผลการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียน และรูปแบบมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.80
3. ผลการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย พบว่า
3.1 ผลการประเมินตนเองของครูผู้สอนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน พบว่า ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ) มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สูงสุด คือ มีความสามารถในการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักใช้วิธีการ ค้นคว้าและแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.93 รองลงมาคือ มีความสามารถนำข้อเสนอและวิธีการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.60 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในแต่ละกิจกรรมอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.53 และมีความสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในแต่ละกิจกรรมอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.53 ตามลำดับ
3.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จำแนกเป็น
3.2.1 การประเมินความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยของนักเรียน โดยครูผู้สอน จากผลการประเมินความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยครูผู้สอน จำนวน 15 คน พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่านักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามมารยาทไทย อยู่ในระดับสูงสุด คือ อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.73 รองลงมาคือ มีพฤติกรรมการเรียนรู้กับครูภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ย 4.67 และเขียนได้ถูกต้องตามหลักภาษา มีค่าเฉลี่ย 4.60 ตามลำดับ
3.2.2 การประเมินตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 108 คน พบว่า
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ) มีความภูมิใจในท้องถิ่น และ
ความเป็นไทยของนักเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดย
มีพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามมารยาทไทย อยู่ในระดับสูงสุด คือ อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.69
องลงมาคือ เขียนได้ถูกต้องตามหลักภาษา มีค่าเฉลี่ย 4.62 และร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
วัฒนธรรมไทย มีค่าเฉลี่ย 4.46 ตามลำดับ
4. ผลการสังเคราะห์และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลัก
ศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ที่ได้สร้างขึ้นมีชื่อว่า KADE Model ซึ่งได้มีการปรับปรุงพัฒนา และผ่านการทดลองใช้ตามการนำเสนอในขั้นตอนที่ 2 และ 3 แล้วสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนที่ส่งผลให้นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงได้นำรูปแบบการจัด การเรียนรู้ของครู โดยน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมและความเป็นเป็นประโยชน์ในการจัด การเรียนรู้ในโรงเรียน ซึ่งผลการประเมินพบว่า มีความเหมาะสมในระดับดี แต่ควรปรับปรุงวิธี การจัดการเรียนรู้ของครูให้กระชับและมุ่งเน้นการติดตามผลให้ครูและนักเรียนได้น้อมนำศาสตร์พระราชาไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เมื่อปรับปรุงแก้ไขแล้วผู้วิจัยจึงได้นำออกเผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการต่อไป