ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย วาสนา โนรี
สังกัด โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2) รูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 5) แบบสำรวจความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรง ประชาสรรค์) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm-up : W) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียนทั้งชั้นเรียน (Acquire Lesson : A) ขั้นที่ 3 ขั้นสำรวจและค้นหา (Survey and Find the Data : S) ขั้นที่ 4 ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม (Set Group Work : S) ขั้นที่ 5 ขั้นฝึกคิดและตรวจสอบผลงาน (Analyze and Accomplish Work : A) ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปบทเรียนและนำเสนอ (Net the Lesson : N) และขั้นที่ 7 ขั้นประเมินผลและให้รางวัลกลุ่ม (Access and Admire : A)
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรม การเรียนรู้การเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ผลการทดสอบระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.67 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.33 แสดงว่า ประสิทธิภาพ 83.99/81.77 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 31 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 18 ชั่วโมง จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับการทดลองนั้นผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเองในแต่ละแผนการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อนักเรียนได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ให้ความสนใจในการเรียนรู้และฝึกการทำกิจกรรมบ่อยครั้ง จึงทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนจึงสูงขึ้น
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
ผลทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยรูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบ 16.19 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.65
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ WASSANA MODEL ร่วมกับ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สังคมและพลเมืองดีวิถีไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับดีในทุกด้าน และให้นักเรียนเขียนแสดงความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบ หลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชอบรูปแบบที่มีเนื้อหาไม่ยากจนเกินไป สามารถทำกิจกรรมได้ถูกต้องได้มากขึ้น เข้าใจง่าย เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียนบรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนาน
ผลจากการนำไปใช้ได้ทำการปรับปรุงการพิมพ์สะกดคำ ให้ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพประกอบเนื้อหามากขึ้น ปรับปรุงให้เนื้อหามีความกระชับมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหามากยิ่งขึ้น