ชื่อผลงาน การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางผะอบ จันทชูโต
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ให้มีประสิทธิภาพ E1/E2 ตามเกณฑ์ 80/80
2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562โรงเรียนบ้านนาประดู่ จำนวน 19 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ชุด โดยภาพรวมมีคุณภาพความเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.51, S.D.. = 0.02)
2. แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน โดยภาพรวมมีคุณภาพความเหมาะสมมาก (x̄ = 4.40, S.D. = 0.24)
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุรอบตัว จำนวน 30 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความยากง่าย 0.40 0.67 ค่าอำนาจจำแนก 0.40 0.67 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน 0.94
4.แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67 - 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.83 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพ 82.67/86.67 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน ร้อยละ 83.16 สูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 37.02
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.75, S.D = 0.36)