ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า
ผู้รายงาน นางจุฬารัตน์ ฤทธิพันธรักษ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านสภาวะแวดล้อม 2) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านผลผลิต กลุ่มผู้ประเมินที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 327 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) จำแนกตามสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม มีการกำหนดขนาดของกลุ่มผู้ประเมินโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ก่อนการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านสภาวะแวดล้อมและด้านปัจจัยเบื้องต้น) ประกอบด้วย แบบสอบถาม ด้านสภาวะแวดล้อมจำนวน 11 ข้อ และแบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้นจำนวน 12 ข้อ รวม 23 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 (2) แบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ระหว่างการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านกระบวนการ) จำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.88 (3) แบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า หลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านผลผลิต) จำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวมมีผล การดำเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ย
มากที่สุดคือ โครงการนี้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน รองลงมาคือ โครงการมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
2. ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บุคลากรผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ รองลงมาคือ งบประมาณที่ได้รับในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ
3. ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ กิจกรรม ของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพโรงเรียนและท้องถิ่น รองลงมาคือ โครงการ มีการดำเนินกิจกรรมเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมโครงการ
4. ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โรงเรียน เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา รองลงมาคือ ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น