ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้
ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย วาสนา โนรี
สังกัด โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี
จังหวัดสุโขทัย
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน โดยทดลองใช้และประเมินผล ปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรง ประชาสรรค์) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม 2) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสำรวจ ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบ พรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่ารูปแบบของเอกสารประกอบการเรียน ควรใช้ภาษา ที่เข้าใจง่ายชัดเจน มีรูปภาพ มีภาพการ์ตูนประกอบ สีสันสวยงามและมีเนื้อหาที่ให้ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ เป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือสามารถนำความรู้ไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเน้นกระบวนการกลุ่ม มีการวัดและประเมินผลครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
2. คู่มือครู (แผนการจัดการเรียนรู้) และเอกสารประกอบการเรียนมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าประสิทธิภาพ แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 74.45/73.33 ค่าประสิทธิภาพแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 77.59/76.29 และค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 83.50/81.44
3. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ คือ E1/E2 เท่ากับ 83.93/82.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลและปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ โดยใช้ การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4.1 ด้านผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และ การแก้ปัญหา ผลการประเมินพฤติกรรมโดยภาพรวม อยู่ในระดับดี
4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.3 ผลจากการนำไปใช้ได้ทำการปรับปรุงการพิมพ์สะกดคำให้ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพประกอบเนื้อหามากขึ้น ปรับปรุงให้เนื้อหา มีความกระชับมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหามากยิ่งขึ้น