ชื่อผลงาน รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้านวินัย รับผิดชอบ
และจิตอาสา โรงเรียนวัดฉัตรทอง (เลื่อนประชานุกูล) ปีการศึกษา 2563
ลักษณะผลงาน การประเมินโครงการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่
ผู้ประเมิน ว่าที่ร้อยตรีพงศ์ประภา วสุวัต
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดฉัตรทอง (เลื่อนประชานุกูล)
ปีพุทธศักราช 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้านวินัย รับผิดชอบ และจิตอาสา โรงเรียนวัดฉัตรทอง (เลื่อนประชานุกูล) ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับ ความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากร และความเหมาะสมของกิจกรรม ประเมินกระบวนการของโครงการ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการและการติดตามโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความรู้ เรื่องวินัยและความซื่อสัตย์ นักเรียนที่มีวินัยและความซื่อสัตย์ ตลอดจนความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ที่มีต่อโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 13 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน ผู้ปกครอง จำนวน 13 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวม 37 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติ พื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-test แบบไม่อิสระ ซึ่งผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวม พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กระบวนการ บริบท ปัจจัยนำเข้า และผลผลิต ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท พบว่า มีความเหมาะสม และผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการและผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือความเหมาะสมของบุคลากร และความเหมาะสมของกิจกรรม
2. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และการติดตาม คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสม และผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็น รายตัวชี้วัด พบว่า นักเรียนมีความรู้เรื่อง วินัย ความรับผิดชอบ และจิตอาสา และนักเรียนมีวินัย ความรับผิดชอบ และจิตอาสา หลังจากเข้าร่วมโครงการ มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง พบว่า มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย คือ ความพึงพอใจของครู ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความพึงพอใจของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ข้อเสนอแนะ
1. ควรกำหนดพฤติกรรมนักเรียนเกี่ยวกับวินัย ความรับผิดชอบ และจิตอาสา เพื่อส่งเสริมพัฒนา นักเรียนให้มีระดับคุณภาพที่สูงขึ้น และจัดกิจกรรมสนองตอบความต้องการและความสนใจของนักเรียน ให้หลากหลายเพื่อสร้างแนวร่วมในการรณรงค์ และเสริมสร้างด้านนี้ต่อไป โดยให้ครูและบุคลากรทุกคนทุกฝ่าย ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ และควรกระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและจริงจัง
2. ควรมีการศึกษาทบทวน และปรับปรุงตัวชี้วัดและรายการประเมินด้านบริบทและด้าน ปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของ โครงการให้สูงขึ้น และดำเนินการอย่างยั่งยืนตลอดไป