ชื่อเรื่อง รูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวชาลิสา วะโรรัมย์
ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนช่ประทาย
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประทาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 6) แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test)
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ จัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ต้องจัดการศึกษาตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และการอ่านจับใจความสำคัญโดยวิธี SQ4R และการคิดวิเคราะห์ที่หลากหลาย แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ต้องประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 หลักการตอบสนอง องค์ประกอบที่ 5 ระบบสังคมและองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.65 , S.D. = 0.67) และของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.54 S.D. = 0.58) ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเน้นการกระบวนการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการวิเคราะห์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะต้องส่งเสริมให้กับผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3แบบ chalisa model ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน คือ 1¬) ขั้นกรณีปัญหา 2) สาระสำคัญของเรื่อง 3) ทำกิจกรรม 4) เกิดการเรียนรู้ 5) ทักษะที่เกิด 6) สรุปความคิดรวบยอด
7) ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และได้นำรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตรวจสอบและประเมินแล้ว ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.77 และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบเดี่ยว (1:1) จำนวน 3 คน ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน มีค่าเท่ากับ 78.00/77.78 แบบกลุ่ม ( 1:10 ) จำนวน 9 คน ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการมีค่าเท่ากับ 79.11 /78.89 แบบภาคสนาม 1:100 จำนวน 30 คน ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการมีค่าเท่ากับมีค่าเท่ากับ 81.20 /81.00พบว่า ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.10/81.45 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7043ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวัดความสามารถในการวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.74 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.45
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน chalisa model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.39 ซึ่งผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ โดยรวม ผ่าน