การรายงานผลการประเมินโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมือง-หนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ทั้งด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งได้แก่ ด้านผลกระทบ ด้านการประเมินประสิทธิผล ประเมินความยั่งยืน และด้านประเมินการถ่ายทอด ส่งต่อ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPIEST Model ได้แก่ การประเมินด้านบริบทที่เกี่ยวข้องกับด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ซึ่งได้แก่ ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และ ด้านประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) รวมทั้งการประเมินความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการในครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 274 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร หรือหัวหน้าฝ่าย จำนวน 2 คน ครู จำนวน 20 คน นักเรียน จำนวน 120 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบประเมินโครงการที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) จำนวน 5 ฉบับได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบท (Context Evaluation) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิต (Product Evaluation) เพื่อสอบถามผลการดำเนินงานตามโครงการ ประกอบด้วย 1) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) 2) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 3) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) 4) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ฉบับที่ 5 แบบสอบถาม ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ และฉบับที่ 6 เป็นแบบบันทึกการสัมภาษณ์โครงการ สำหรับผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินโครงการระหว่างดำเนินโครงการ และหลังสิ้นสุดโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาพรวมการประเมินโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ผลการวิเคราะห์ โดยภาพรวม มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุดโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านบริบท (Context Evaluation) และด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามลำดับ
2. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation ของโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายพบว่า มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ ขั้นตอนการดำเนินการของโครงการไปสู่การปฏิบัติได้จริง โครงการรักการอ่านมีการกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย และโครงการมีการกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของเทศบาลเมืองหนองคาย ตามลำดับ
3. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่ามีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ อาคารสถานที่ ชุมชนแวดล้อมสำหรับกิจกรรมตามโครงการมีความสอดคล้องเหมาะสมและเพียงพอ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ และ บุคลากรมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมและเพียงพอตามลำดับ
4. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่า มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ มีการนิเทศ ติดตาม และควบคุมระหว่างการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ มีการปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานตามโครงการอย่างเหมาะสม มีการดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนตามโครงการตามลำดับ
5. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายจำแนกเป็น
5.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) พบว่ามีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ นักเรียนมีความสนใจในการเรียนรู้จากอ่านเพิ่มมากขึ้นนักเรียนเห็นความสำคัญใน การ เข้าร่วมกิจกรรม และนักเรียนมีผลประเมินในการอ่านดีขึ้น
5.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) พบว่าภาพรวม มีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ นักเรียนใช้ประโยชน์จากการการอ่านได้เหมาะสม นักเรียนมีความสนใจในกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านทั้งในโรงเรียนและชุมชนและ นักเรียนเห็นความสำคัญและหวงแหนชุมชนมากขึ้น
5.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) พบว่าภาพรวม มีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ นักเรียนใช้ความรู้จากการอ่านเป็นผู้ที่ดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนแหล่งเรียนรู้ในเขตเทศบาลเมืองหนองคายอย่างเป็นประจำ นักเรียนรู้จักเรียนรู้จากที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์อยู่เสมอ และนักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการอ่านมาประยุกต์ใช้กับการเรียนได้หลากหลายวิชาและสม่ำเสมอ
5.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ภาพรวมพบว่า มีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้จากการอ่านทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นักเรียนใช้ความรู้จากการอ่านสามารถเชิญชวนผู้ปกครองชุมชนเทศบาลเมืองหนองคายเข้าร่วมอนุรักษ์พัฒนาท้องถิ่นได้ และนักเรียนมีความรักหวงแหนทรัพยากรท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม
6. การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญ-อนุเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ภาพรวมพบว่า ระดับความพึงพอใจมีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและเพียงพอ ควรมีการดำเนินโครงการนี้ต่อไป และ สถานที่ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม บรรยากาศในการจัดกิจกรรมมีความสนุกสนานน่าสนใจ