รูปแบบการบริหารจัดการและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔
๑. ชื่อผลงาน ห้องเรียนครูบาสออนไลน์ ด้วยกระบวนการ MACRO model
๒. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นายไพบูลย์ ภักดิ์สอนิสิทธิ์ ตำแหน่ง ครูผู้สอน ระดับชั้น ประถมศึกษา
โรงเรียนเมืองเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย หมายเลขโทรศัพท์ ๐๙๓๐๑๕๗๖๒๙
๓. รูปแบบจัดการเรียนการสอน แบบผสมผสานหรือหลายรูปแบบ (Blended)
๔. ความสำคัญของผลงาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ เพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก สถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน ต้นเดือนพฤษภาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ได้ประกาศให้เลื่อนการเปิดเทอมออกไปจากเดิมที่กำหนดไว้ วันที่ ๑๗ พ.ค. ๒๕๖๔ ขยับไปเป็นวันที่ ๑ มิ.ย.๒๕๖๔ แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโควิด-๑๙ ที่ปะทุขึ้นอีกเป็นรอบที่ ๓ ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้ทุเลาเบาบางลงได้ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องประกาศเลื่อนการเปิดเรียนภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จากวันที่ ๑ มิ.ย.ออกไปอีกครั้งเป็นวันที่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๖๔ ศธ.ได้ถอดบทเรียนการจัดการศึกษาเพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ระลอกที่ผ่านมา ทำให้ต้องคิดหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียน เพราะในแต่ละพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคที่แตกต่างกัน ตามที่ ศบค.กำหนด ดังนั้น ศธ.จะไม่กำหนดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ทุกโรงเรียนจัดการเรียนการสอนเหมือนกันทั้งหมด โดยได้ต่อยอดรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนเป็น ๕ รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ คือ ๑. On-site เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (ศบค.) ๒. On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV ๓. On-demand เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ๔. On-line เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต และ ๕. On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือ แบบฝึกหัดใบงาน ในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น วิทยุ เป็นต้น
ปัจจุบันพบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดยังไม่ยุติลง และยังคงพบผู้ติดเชื้อกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อในกลุ่มผู้สัมผัส ครอบครัว กลุ่มเพื่อนและสถานที่ทำงานได้ ดังนั้นทางโรงเรียนเมืองเกษตรวิสัยได้มีนโยบายให้ครูปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ที่ให้โลกของผู้เรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเป็นทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีนั้นมีบทบาทที่ชัดเจนมากนี้ ครูผู้สอนผันตนเองมาเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน และผู้ช่วยอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ ยิ่งไปกว่านั้นการเรียนรู้ขยายกว้างออกไปอย่างไร้ขอบเขต โดยอาศัยนวัตกรรมและเครื่องมือที่สนับสนุนให้ผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ครูผู้สอนต้องเน้นการเรียนการสอนที่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน เน้นการลงมือปฏิบัติจริงและนําเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดความทันสมัยและน่าสนใจ จึงทำให้เกิดห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google site Google classroom meet และ Line ซึ่งผสานรวมเอกสาร แหล่งจัดเก็บข้อมูล และอีเมล์ ไว้ด้วยกันในที่เดียวกัน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงสามารถออกแบบห้องเรียน จัดเรียงเนื้อหา และรวบรวมงานได้โดยไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย การสร้างห้องเรียนออนไลน์ สามารถกดเพิ่มหรือลดผู้เรียน และส่งคําเชิญหรือรหัสให้ผู้เรียนเข้าร่วมชั้นด้วยด้วยตนเอง ทั้งยังสามารถอัพโหลดและแบ่งปันข้อมูลข่ายสารให้กับผู้เรียนมอบหมายงานออนไลน์ ติดตามความก้าวหน้าของชิ้นงาน ตรวจงาน ให้คะแนนงาน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชิ้นงานแก่ผู้เรียนแบบเรียลไทม์ได้ ในส่วนของผู้เรียนนั้นสามารถดูและดาวน์โหลดเนื้อหาของเอกสารประกอบการเรียนได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ติดตามงาน และตรวจสอบวันครบกำหนดการกส่งงานได้เพียง แค่ล็อคอินเข้าสู่ห้องเรียน พร้อมทั้งค้นหางานของตนเองที่ถูกจัดเก็บอยู่ในแฟ้มภายใน Google Drive ข้อดีของมีหลายประการ เช่น ใช้งานได้ง่ายและช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสื่อสารกันได้ดีขึ้น ประหยัดเวลา ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์สื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นโทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ต โน้ตบุ๊ค สะดวก รวดเร็ว ไม่จํากัดเวลาและสถานที่ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรืนร้น
จากแนวคิดดังกล่าว ครูผู้สอนจึงสนใจ การจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ ห้องเรียนครูบาส ด้วยกระบวนการ MACRO model วิชาวิทยาการคํานวณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการเรียนด้านการพัฒนาศักยภาพด้านความคิด เปลี่ยนบทบาทของครูเป็นไปผู้อํานวยความสะดวกในการเรียน เป็นสื่อกลางในการเสริมและช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ คอยกระตุ้นความคิดของผู้เรียน เป็นผู้ให้คำปรึกษาคอยช่วยชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนมีสร้างประสบการณ์ที่สำคัญและจําเป็นต่อการเรียนรู้ การตอบสนองต่อการเรียนรู้ สร้างความตื่นเต้นและท้าทายในการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนรู้จัดวางแผนการทำงาน และให้ผู้เรียนสามารถกำกับตนเองได้โดยใช้เว็บไซต์ ห้องเรียนครูบาส Google classroom meet และ Line กลุ่ม ซึ่งเป็นห้องเรียนออนไลน์ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีและเป็นช่องทางในการเรียนรู้และศึกษาได้ด้วยตนเองโดยเข้าถึงห้องเรียนออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์อย่างคุ้มค่านี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๕. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๕.๑ จุดประสงค์
๕.๑.๑ เพื่อสร้างและห้องเรียนครูบาสออนไลน์ ด้วยกระบวนการ MACRO model วิชาวิทยาการคํานวณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
๕.๑.๒ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
๕.๑.๓ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ตามเกณฑ์ 80/80
๕.๑.๔ เพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อห้องเรียนครูบาสออนไลน์ ด้วยกระบวนการ MACRO model วิชาวิทยาการคํานวณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
๕.๒ เป้าหมายของการดำเนินงาน
๕.๒.๑ เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๓๐ คน
๕.๒.๒ เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้เรียนรู้ ทบทวนเพิ่มเติม และทดสอบออนไลน์ ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 และมีความพึงพอใจในห้องเรียนครูบาสออนไลน์ ด้วยกระบวนการ MACRO model วิชาวิทยาการคํานวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 80