ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และ การเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวกมลวดี จางบัว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และ การเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และ การเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ มีประเด็นหลักคือ ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหาโดยการวิจัยและพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และ การเรียนรู้แบบลึก โดยใช้เนื้อหาเกี่ยวกับการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้ แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 82.14/81.92 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และ การเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมแล้วครูและนักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกันทั้งระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน ระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่ม โดยผ่านสถานการณ์หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความเป็นจริง นักเรียนได้ฝึกการตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ลงมือสืบเสาะหาความรู้ สรุปความรู้ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทำให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.32/82.08 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสรุป ดังนี้
4.1 หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความสามารถในการคิดขั้นสูงโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงและสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 29.67) เป็นระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 82.33) ทำให้หลังเรียนอยู่ในระดับสูงและสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.68, S.D. = 0.12)