ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม
โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
ผู้วิจัย เพชรวราภรณ์ พิมพ์ศรี
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2563
การวิจัยเพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว ในครั้งนี้ใช้ระเบียบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ในลักษณะที่เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4 ด้านได้แก่ 1.ด้านการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม 2. ด้านการบริหารงานงบประมาณแบบมีส่วนร่วม 3.ด้านการบริหารงานบุคคลแบบมีส่วนร่วม และ4. ด้านการบริหารงานบริหารทั่วไปแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ
STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว 4) เพื่อประเมิน ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนน 31 คน ผู้ปกครอง จำนวน 196 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว เป็นโรงเรียนในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาในพื้นที่มีลักษณะพิเศษจำเป็นซึ่งต้องใช้การบริหารงานที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ จากการการประเมินสภาพปัจจุบันของการบริหาร วิเคราะห์จากข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านการบริหารงานบริหารทั่วไปแบบมีส่วนร่วม มีความคิดเห็นระดับปานกลาง พบว่าผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาควรมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ กิจกรรมของโรงเรียนด้วยความเต็มใจ เต็มกำลังความรู้ความสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการของสถานศึกษา วางแผนการใช้อาคารสถานที่สรรหา งบประมาณซ่อมแซมอาคารสถานที่เพื่อเป็นการพัฒนาให้เกิดคุณภาพในการจัดการศึกษา ดังนั้นโรงเรียนจำเป็นต้องพัฒนาให้มีหรือใช้รูปแบบแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียน บ้านหนองเสี้ยว ให้เกิดการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจนส่งผลให้การการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพโรงเรียนให้เกิดคุณภาพสูงขึ้นต่อไป
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีระดับความเหมาะสมมากที่สุดทุกด้าน
ด้านภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ (S-strategic leadership) ผู้บริหารสามารถใช้ประสบการณ์ ในการแก้ปัญหา อย่างคล่องแคล่วว่องไวแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างสร้างสรรค์ การเปลี่ยนความตั้งใจหรือ หลักคิด (Mind Set) จากโลกทัศน์เดิมมาเป็นโลกทัศน์ใหม่ลงมือปฏิบัติแบบทันทีทันใด มีการคิดหาวิธีการ ใหม ๆ มาใชในหนวยงานเพื่อพัฒนาโรงเรียน
ด้านการทำงานเป็นทีม (T-Team) เปืดโอกาสให้บุคลากรและเพื่อนร่วมงานมีโอกาสในการร่วมวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และการตัดสินใจในการทำงานในโรงเรียน
ด้านบริหารสู่ความเป็นเลิศ (E-Exellence Administration) มีการบริหารจัดการสามารถแสวงหา ระดมทรัพยากรด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในการจัดการศึกษา โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวตามสภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ครูรู้จักใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ICT) ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนสามารถนำความรู้และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการให้สำเร็จอย่างเหมาะสม
ด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (P-Professional Learning Community) ส่งเสริมให้มีการพูดคุยสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยการมีเป้าหมายเดียวกันคือผู้เรียน
3. ผลการศึกษาการทดลองใช้รูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว ระดับพฤติกรรมก่อนดำเนินการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และระดับพฤติกรรมหลังการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ (strategic leadership) การทำงานเป็นทีม (Team) ด้านบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Exellence Administration) และด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สามารถส่งเสริมคุณภาพสถานศึกษาได้จริง
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยวโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ (strategic leadership) และด้บริหารสู่ความเป็นเลิศ (Exellence Administration) ตามลำดับ และ จากการศึกษาระดับความพึงพอใจ การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว ด้านกลยุทธ์ของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าระดับความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ การพัฒนาและยกระดับการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาและเป็นไปตามมาตรฐาน ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการบริหารตามแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ STEP MODEL สามารถยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยวตามกลยุทธ์ในแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนที่ได้ตั้งไว้จริง