ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย รุจิรา ทุมพิลา
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี)
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนครนพม จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2) รูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 5) แบบสำรวจความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอบทเรียนทั้งชั้นเรียน (Joy the Lesson : J) ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม (In Group Activity : I) ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปทบทวนและประเมินผล (Review and Evaluation : R) และขั้นที่ 4 ขั้นยกย่องผลงาน (Admiration : A)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ผลการทดสอบระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.67 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.33 แสดงว่า ประสิทธิภาพ 83.67/81.33 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี) ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 15 ชั่วโมง จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับการทดลองนั้นผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเองในแต่ละแผนการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อนักเรียนได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ให้ความสนใจในการเรียนรู้และฝึกการทำกิจกรรมบ่อยครั้ง จึงทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนจึงสูงขึ้น
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีดังนี้
ผลทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบ 16.19 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.95
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ JIRA Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับดีในทุกด้าน และให้นักเรียนเขียนแสดงความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบ หลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจนักเรียนชอบรูปแบบที่มีเนื้อหาไม่ยากจนเกินไป สามารถทำกิจกรรมได้ถูกต้องได้มากขึ้น เข้าใจง่าย เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียนบรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนาน
ผลจากการนำไปใช้ได้ทำการปรับปรุงการพิมพ์สะกดคำ ให้ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพประกอบเนื้อหามากขึ้น ปรับปรุงให้เนื้อหามีความกระชับมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหามากยิ่งขึ้น