ชื่อเรื่อง : การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA)
ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก
ชื่อผู้วิจัย : นางปราณี สังข์น้อย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิค
ผังกราฟิก 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน
ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคมที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
ด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ
วัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ
ค่าทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัย พบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.49/82.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบบูรณาการของ
เมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เท่ากับ 0.5109
3. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด