ชื่อเรื่อง การพัฒนาครูโดยใช้แผนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัด
การเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง
ผู้วิจัย สาลี่ เชิดชู
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการและความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 2. เพื่อพัฒนาแผนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 3. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนอบรมและหลังการอบรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 4. เพื่อประเมินผลการพัฒนาความรู้และการนำทักษะการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการการอบรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การเปรียบเทียบความรู้ก่อนการอบรมและหลังการอบรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการประเมินผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนของโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีดังต่อไปนี้ แบบสำรวจความต้องการและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), แบบทดสอบแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), แบบทดสอบความรู้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) , แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสำรวจความต้องการและปัญหาในการทำการวิจัย พบว่า ครูทุกคนเคยได้ศึกษาเรื่อง การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แต่ทุกคนยังต้องการเพิ่มเติมความรู้ และทุกคนมีความประสงค์เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยความรู้เรื่องการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ครูทุกคนต้องการศึกษาหรือต้องการศึกษาเพิ่มเติม ตามความต้องการ ได้แก่ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์(Constructivist) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การจัดการเรียนรู้ผ่านระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย Internet, ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้แอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้ แบบ On-line สำหรับการวางแผนการอบรม พบว่า จากประเด็นความต้องการและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้นำมาประชุมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนการอบรม พร้อมทั้งเสนอแผนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ตรงกับปัญหาและความต้องการ กลุ่มเป้าหมายได้เสนอให้มีการฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่สามารถใช้ได้ทั้งการสอนนักเรียนแบบ On-line และ On-hand ไปพร้อม ๆ กัน ฝึกทักษะการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้แบบ On-line การนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้ด้วยการประสานพลังผู้ปกครอง และให้ที่ประชุมร่วมกันกำหนดวันเวลาในการอบรมแต่ละครั้ง ได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 5 ครั้ง รวม 5 วัน โดยนำเสนอเนื้อหาสาระในรูปแบบของการบรรยายไว้ดังนี้ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) แนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย Internet, ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้แอปพลิชันสำหรับการจัดการเรียนรู้ แบบ On-line การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การฝึกทักษะในการใช้แอปพลิเคชัน Zoom Meeting และ Microsoft Teams ในการจัดเรียนรู้ แบบ On-line ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.1 ดำเนินการอบรม โดยได้ทดสอบความรู้ก่อนอบรม พบว่า ผลคะแนนจากการทดสอบก่อนการอบรม ครูผู้สอนสามารถทำคะแนนในการทดสอบก่อนอบรมเกินครึ่งทุกคน ส่วนการอบรมและฝึกปฏิบัติเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กลุ่มเป้าหมายฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามความสนใจของแต่ละคน โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการทั้งหมด 4 ครั้ง มีการประเมินผลการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาการอบรมทุกครั้งและได้นำผลการประเมินแจ้งให้กลุ่มเป้าหมายทราบทันทีเมื่อการอบรมเสร็จสิ้นในแต่ละครั้ง ในการอบรมแต่ละครั้งใช้การบรรยายและลงมือปฏิบัติการวิจัยตามประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ
2.2 นำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปใช้กับนักเรียนตามตารางเรียนของโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงที่การจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block course learning)
2.2.1 ครูวางแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยนำทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิดการจัดการเรียนรู้ หลักการของการจัดการเรียนรู้ บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้แอปพลิเคชัน สำหรับการจัดการเรียนรู้ แบบ On-line การบริหารจัดการเวลาเรียนและการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนวทางการวัดและประเมินผล ตลอดจนแนวทางในการประสานพลังความร่วมมือกับผู้ปกครองในการสนับสนุนการเรียนรู้ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนและส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.2.2 แบ่งกลุ่มครูออกแจกเอกสารประกอบการเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้แก่นักเรียนตามจุดนัดหมายในชุมชนและเยี่ยมบ้านนักเรียนพร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง
2.2.3 ครูผู้สอนแต่ละวิชานำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปใช้กับนักเรียนในช่วงเวลาตามตารางเรียน โดยจัดการเรียนการสอนแบบ On-line พร้อมทั้งประสานผู้ปกครองร่วมดูแลนักเรียนที่เรียนรู้แบบ On-hand
2.2.4 ผู้วิจัยและคณะครูเข้าสังเกตการจัดการเรียนรู้แบบ On-line เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและนำผลการสังเกตไปปรับปรุง พัฒนา การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยนำผลส่วนหนึ่งจากการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูและนักเรียนที่ร่วมเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยพิจารณา 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1) เป้าหมายของงาน 2) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง 3) ความแตกต่างที่เกิดขึ้นเพราะเหตุใด 4) สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้และข้อปฏิบัติในการทำงานครั้งต่อไป นำมาประชุมร่วมกันเพื่อซักถามสภาพปัญหา และแนวทางแก้ไข สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนแบบ On-line ได้ ผู้วิจัยและครูผู้สอนได้ออกเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามและขอความร่วมมือกับผู้ปกครองในการช่วยเหลือนักเรียนและจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ On-hand พร้อมทั้งดำเนินการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประชุมเพื่อซักถามสภาพปัญหา และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
3. การเปรียบเทียบความรู้ก่อนการอบรมและหลังการอบรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ผลคะแนนจากการทดสอบความรู้หลังการอบรมหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม เท่ากับ 12.33 คะแนน คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม เท่ากับ 18.50 คะแนน การประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ภายหลังจากที่กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่มนำเสนอผลการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ผลการตัดสินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก
4. การประเมินผลการพัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
4.1 ประเมินผลที่เกิดกับนักเรียน นักเรียนร้อยละ 88.05 มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ในการเข้าร่วมเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4.2 ประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการตัดสินจากคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ครูแต่ละคนได้จัดทำ พบว่า ร้อยละ 91.67 ของครูโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก
4.3. ประเมินผลการสะท้อนกลับที่มีต่อการเข้าร่วมการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการได้แสดงความคิดเห็นตามขั้นตอนต่างๆ ผลการแสดงความคิดเห็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูสู่การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังต่อไปนี้
4.3.1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการการอบรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
การสำรวจความต้องการและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมได้แสดงความคิดเห็นว่า เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด ทำให้เข้าใจการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน เป็นการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง เพราะบางคนไม่สามารถเรียนรู้แบบ On-line ได้ ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้แบบ On-hand ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวิถีประจำวัน ร่วมประสานพลังกับผู้ปกครอง เป็นห้องเรียนของครอบครัวได้ด้วย ทำให้ได้ทราบถึงความต้องการและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของแต่ละบุคคลว่ามีความต้องการและมีปัญหาอะไรบ้าง ได้นำความรู้จากการอบรมไปจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ โดยทั้งนักเรียนและครูต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความปกติใหม่ (New Normal) ทำให้ครูได้พัฒนาทักษะการใช้แอปพลิเคชันในการจัดการเรียนรู้แบบ On-line ได้ดีขึ้น เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงเป้าหมาย ได้รับความรู้จากการอบรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้น และนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ครูก็ยังมีความกังวลเรื่องการออกแบบแผนการจัดเรียนรู้ที่ต้องให้มีความพร้อมทั้งการสอนแบบ On-line สำหรับนักเรียนที่มีพร้อมด้านเครื่องมือและเทคโนโลยี และในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสื่อ เอกสารประกอบการเรียนเพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้แบบ On-hand ไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากนักเรียนไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้
4.3.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
4.3.2.1 การทดสอบความรู้ก่อนอบรม เป็นการประเมินความรู้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมได้แสดงความคิดเห็นว่า การทดสอบก่อนการอบรมทำให้ครูผู้สอนสามารถประเมินความรู้ของตนเอง ทั้งความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ทำให้รู้ว่าครูเข้าใจมากน้อยเท่าใดและสามารถนำมาปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้หรือไม่ เพราะครูแต่ละท่านอาจจะไม่เข้าใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สำคัญยังเป็นการวัดความรู้และทักษะการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบ On-line สำหรับครูผู้สอนก็ได้ทราบว่าตนเองมีความรู้พื้นฐานมากน้อยเพียงใด จะได้เตรียมตัวก่อนได้รับการอบรม
4.3.2.2 การจัดอบรมและฝึกปฏิบัติ ครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมได้แสดงความคิดเห็นว่า ได้ความรู้มากขึ้นจากประสบการณ์ตรง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอาชีพการงาน สามารถนำความรู้ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพิ่มพูนความรู้ การจัดการอบรมพัฒนาทางด้านทักษะกระบวนการอาจไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์แต่อยู่ในระดับดีขึ้น ซึ่งเป็นการสะสมความรู้จากฝึกปฏิบัติจริงๆ ครูจะได้นำประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้รับจากการพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
4.3.3 การเปรียบเทียบความรู้ก่อนการอบรมและหลังการอบรม การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
การทดสอบความรู้หลังการอบรมเพื่อประเมินความรู้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมได้แสดงความคิดเห็นว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะได้ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้ดีขึ้น เป็นการวัดหรือประเมินความรู้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่าได้ผลดีขึ้นกว่าเดิมมากน้อยเพียงใด เป็นการวัดความรู้ความสามารถของตนเองหลังการอบรมว่ามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นมากน้อยเพียงใด การอบรมมีประโยชน์แต่ต้องพัฒนาต่อเนื่อง
4.3.4 การประเมินผลการพัฒนาความรู้และการนำทักษะในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมได้แสดงความคิดเห็นว่า
4.3.4.1 ครูวางแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยนำทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิดการจัดการเรียนรู้ หลักการของการจัดการเรียนรู้ บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้ แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้แอปพลิเคชัน สำหรับการจัดการเรียนรู้ แบบ On-line การบริหารจัดการเวลาเรียนและการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแนวทางการวัดและประเมินผลการจัดแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแนวทางในการประสานพลังความร่วมมือกับผู้ปกครองในการสนับสนุนการเรียนรู้ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนและส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.3.4.2 ครูสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในหน่วยการเรียนรู้ตามรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมเกิดการประสานพลังอย่างเป็นรูปธรรม
4.3.4.3 ครูสามารถดำเนินการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในแต่ละระดับชั้นตามแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างเหมาะสมครอบคลุมทั้งการสอนแบบ On-line และ On-hand
4.3.4.4 การประเมินผลที่เกิดกับนักเรียน นักเรียนมีผลการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ภายหลังการเข้าร่วมเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ การประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครูมีความรู้และความเข้าใจวิธีการและสามารถจัดการเรียนรู้ตลอดจนมีการจัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมและเหมาะสม ติดตามให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมีผลสะท้อนกลับที่เกิดกับครู นักเรียน และสถานศึกษา ดังนี้
1) ครูมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการสอนแบบ On-line และการสอนแบบ On-hand
2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3) สถานศึกษามี Best practice ด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คือ ได้รับรางวัลสถานศึกษาที่บริหารจัดการควบคุมและป้องกันโควิด-19 ตามคำแนะนำคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ระดับดีเยี่ยม
แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งต่อไป การอบรมควรจะมีการผลิตสื่อที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จัดอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะครูดิจิทัลเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการจัดเรียนรู้ในยุค New Normal ให้มากขึ้นและเน้นเฉพาะการฝึกปฏิบัติโดยตรง
4.4 การประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน ทั้งด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารที่สุด (μ=4.81) ด้านการจัดการเรียนรู้ของครู (μ=4.73) ด้านคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน (μ=4.73) และด้านการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้ปกครอง (μ=4.62)