ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย นางรัตนา เทพพิทักษ์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 51 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพลอำเภอทุ่งสง จังหวัดอุนครศรีธรรมราช ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบบแผนการวิจัย คือ One-Group Posttest-Only Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการ 2) แบบสัมภาษณ์ 3) ชุดฝึกทักษะ 4) แบบประเมินทักษะการสื่อสารทางภาษาไทย 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึก และ 6) แบบประเมินผลการใช้ชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องต้องการให้สร้างชุดฝึกทักษะที่มีรูปแบบที่หลากหลาย เนื้อหาน่าสนใจ โดยเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวนักเรียนมาสร้างเป็นชุดฝึกทักษะ โดยให้มีรูปภาพประกอบสวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน
2. ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ชุดฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น มีจำนวน 10 ชุด คือ ชุดฝึกทักษะที่ 1 การอ่านคำในภาษาไทย ชุดฝึกทักษะที่ 2 รู้ เข้าใจชนิดของคำ ชุดฝึกทักษะที่ 3 เลิศล้ำราชาศัพท์ ชุดฝึกทักษะที่ 4 สนุกกับสำนวนไทย ชุดฝึกทักษะที่ 5 ใส่ใจภาษาถิ่น ชุดฝึกทักษะที่ 6 ยลยินภาษาต่างประเทศ ชุดฝึกทักษะที่ 7 สังเกตประโยคน่ารู้ ชุดฝึกทักษะที่ 8 จรรยาคู่กุลสตรี ชุดฝึกทักษะที่ 9 บทกวีถ้อยร้อยกรอง และชุดฝึกทักษะที่ 10 ตามครรลองความพอเพียง ซึ่งองค์ประกอบของชุดฝึกทักษะ ประกอบด้วย 1) คำชี้แจงสำหรับครู 2) คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 3) จุดประสงค์การเรียนรู้ 4) แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน 5) กิจกรรมในชุดฝึกทักษะ (ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เกม และกิจกรรมเสริมทักษะนอกเวลาเรียน 6) เฉลยแบบทดสอบ และกิจกรรมในชุดฝึกทักษะ จากการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.05/86.22 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
3. ผลทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
3.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการฟังการพูดการอ่าน และการเขียน หลังการประเมินทักษะการสื่อสารทางภาษาไทย จากการประเมินทักษะการฟังพบว่า จำนวนนักเรียนทั้งหมด 51 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 92.15 การประเมินทักษะการพูด พบว่า จำนวนนักเรียนทั้งหมด 51 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 94.11 การประเมินทักษะการอ่าน พบว่า จำนวนนักเรียนทั้งหมด 51 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 98.03 และ การประเมินทักษะการอ่าน พบว่า จำนวนนักเรียนทั้งหมด 51 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 92.15
3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียน การสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม และด้านคุณประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน และทุกข้อ
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขการใช้ชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด