ชื่อเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส าหรับโรงเรียนเทศบาลพัฒนา จังหวัดสระบุรี
ผู้วิจัย นางสมหมาย ส ารวมรัมย์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลพัฒนา สังกัดกองการศึกษาเทศบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของทักษะการคิดเชิง
นวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางใน
การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล ส าหรับโรงเรียนเทศบาลพัฒนา จังหวัดสระบุรี 3) เพื่อสร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลพัฒนา จังหวัดสระบุรี 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล ระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาลพัฒนา สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการเจาะจงจากครูทั้งหมด จำนวน 23 คน ระยะที่ 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูต้นแบบ (Best Practices) เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ในยุคดิจิทัล จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 7 คน และกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาลพัฒนา ได้มาโดยการเจาะจงจากครูทั้งหมด จำนวน 23 คน ระยะที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากครูในสังกัด 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวัดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการพัฒนาโปรแกรมสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล ทั้งหมด 6 ด้าน
รวม 41 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตีความบริบท การสร้างแนวคิด ความร่วมมือกับผู้อื่น การสะท้อนแนวคิด
การนำเสนอแนวคิด และการประเมินความสำเร็จ มีผลการประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด
จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 0.60-1.00 หมายความว่าใช้ได้ทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัด
2. สภาพปัจจุบันของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่
ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 และสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46
3. โปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา และการประเมินผล
วิธีการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัลใช้วิธีการพัฒนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการใช้กระบวนการ PLC ผลการประเมินโปรแกรมส่งเสริมทักษะ การคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล มีคะแนนทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลแก่งคอย มีความคิดเห็นต่อโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยรวม
อยู่ในระดับมาก