รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลทับกวาง ๒ (จิตรประไพชาเล่ต์)
ผู้ประเมิน : นางสาวกนิษฐา อ้นจันทร์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาลทับกวาง ๒ (จิตรประไพชาเล่ต์) อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ปีที่พิมพ์ : 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลทับกวาง ๒ (จิตรประไพชาเล่ต์) ตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต ของโครงการ ดังนี้ 4.1) สอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อโครงการ 4.2) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน 2) ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 116 คน โดยศึกษากับประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินและแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมิน ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89 ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อโครงการมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.40)
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการตามความคิดเห็น
ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.37, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.35)
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็น
ของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.41,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.39)
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ดำเนินการประเมิน ดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
(ค่าเฉลี่ย = 4.31,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.36)
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
(ค่าเฉลี่ย = 4.40, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.35)