ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่ง
กลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย
รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย เกษรินทร์ สำราญบุญ
สังกัด โรงเรียนพังงูพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและ ความต้องการในการพัฒนารูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพังงูพิทยาคม ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 26 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้อง 2) รูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า องค์ประกอบต้องให้ครบตามรูปแบบของการสร้างรูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ เป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ควรมีรูปภาพประกอบ ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย นักเรียนได้ใช้สื่ออย่างทั่วถึง โดยครูคอยดูแลและให้คำแนะนำนักเรียนและการวัดผลและประเมินผลควรใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
2. รูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 69.78/68.90 ค่าประสิทธิภาพแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 75.55/74.80 และค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 81.96/80.77
3. ผลการใช้รูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า 1) มีประสิทธิภาพ คือ E1/E2 เท่ากับ 82.54/81.27 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีทักษะการเขียนอย่างมีวิจารญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินด้านควาพึงพอใจและการปรับปรุงรูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบ SIRIN Model ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ชุด การแต่งกลอนสุภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท21101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการปรับปรุงแก้ไข มีการปรับปรุงการพิมพ์ สะกดคำให้ถูกต้อง ชัดเจนมีภาพประกอบเนื้อหามากขึ้น ปรับปรุงเนื้อหากิจกรรมการอ่าน ปรับปรุงข้อคำถาม ปรับปรุงกิจกรรมเพิ่มเติม และปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหามากยิ่งขึ้น