ผู้วิจัย นางอุษา ทองแก้ว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์)
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 5 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระยะเวลาที่ใช้เวลาในการทดลอง จำนวน 20 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.07/86.54 นักเรียนทีเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าเท่ากับ 0.74 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 74
ผลการวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการสอนภาษาไทยต่อไป