ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ)
ชื่อผู้วิจัย ศิริพร ไม้ใหญ่เจริญวงศ์
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ) 4) เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ) กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan (1970 : 607) ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ) จำนวน 69 คน และ นักเรียน จำนวน 307 คน กลุ่มเป้าหมาย การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และในการถอดบทเรียน จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา/ครูผู้สอน จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/ผู้ปกครอง จำนวน 2 คน และนักเรียน จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ แบบทดสอบ แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจการจัดการเรียน แบบประเมินสมรรถนะชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) แบบประเมินการปฏิบัติของนักเรียนตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และแบบประเมินคุณสมบัติอันพึงประสงค์ 8 ประการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t test (dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ) มุ่งพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพที่มีหน้างานสำคัญ คือ ความรับผิดชอบการเรียนรู้ของนักเรียนร่วมกันเป็นสำคัญ โดยมุ่งพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกทั้งโรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ) ควรมีการบริหารจัดการโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นควรเร่งพัฒนาทั้งคน วิธีการ เครื่องมือเทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อทำงานได้สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมุ่งเป้าเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเน้นไปที่การศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการเรียนการสอนที่นักเรียนมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2. ผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน ใช้รูปแบบ AD21D Modelประกอบด้วย 1) วิเคราะห์ (Analyze : A) 2) การร่วมกันพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ (Develop the Learners : D) 3) การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards : 21) 4) คุณสมบัติอันพึงประสงค์ (Desirable Characteristics: D)
3. การทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน ก่อนอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 9.39 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 16.59 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการอบรม พบว่าคะแนนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผล รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน 1) ความรู้ ความเข้าใจการจัดการเรียนโดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 2) ประเมินสมรรถนะชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ประเมินการปฏิบัติของนักเรียนตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4) ประเมินคุณสมบัติอันพึงประสงค์ 8 ประการภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
จากการถอดบทเรียนผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน พบว่า นักเรียนมีทักษะในการแก้ไขปัญหาจากการเรียนผ่านรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการพัฒนานักเรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเครื่องมือทางการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาช่วยในการจัดหมวดหมู่ของปัญหาที่พบในการการเรียนรู้ และนักเรียนสามารถค้นหาคำตอบได้จากการแก้ปัญหาด้วยการทดลอง การสืบค้นข้อมูล การแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ นำไปแก้ไขปัญหาในการเรียน โดยสร้างนวัตกรรมการแก้ไข และพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหากับนักเรียน และจะเป็นแนวทางให้แก่ครูผู้สอนในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดทักษะที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหา เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาที่พบในกระบวนการเรียนรู้ในการเรียนประจำวัน และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคตต่อไป