การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร
รายวิชาเพิ่มเติม ๒) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ที่มีคุณภาพ ๓) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตร
รายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิซาการงานอาชีพ เรื่องงานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งเสริมความคิด
สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประณศึกษาปีที่ ๕ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ห้อง ๑ โรงเรียนเทศบาล
เมืองปทุมธานี จำนวน ๓๕ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ หลักสูตรรายรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทด์สอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินสมรรถนะ แบบประเมินภาคปฏิบัติ แบบประเมินคุณภาพผลงาน วิเคราะห์ข้อมูสโดย
ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ครูกลุ่มสาระการงานอาชีพ มีความต้องการ
ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ อยู่ในระดับมากที่สุด
๒. ผลการประเมินความเหมาะสมของโครงร่างของหลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มากที่สุด การประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม พบว่า โครงร่างของหลักสูตรรายวิชา
เพิ่มเติมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวขาญ มีความสอดคล้อง การประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม พบว่า มีความเหมาะสมมากที่สุดการประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์กับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม พบว่า มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
๓. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ..๕ มีคะแนนสมรรถะที่สำคัญของผู้เรียนในระดับคุณภาพดีเยี่ยมทักษะ
ภาคปฏิบัติการทำงานกลุ่ม ระดับดีมาก และมีคะแนนด้านคุณภาพผลงาน สูงกว่าเกณฑ์ ๗๐
โดยสรุป หลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและ
สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเหมาะสมกับความต้องการนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้บริหาร
สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตร ดังนั้นหลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติมนี้
สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้ และยังเป็นแนวทางใน
การสร้างหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มสาระอื่น ๆ ในโรงเรียนอื่น ๆ ได้