การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1)พัฒนาและศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21โดยใช้กิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครก่อนและหลังการพัฒนา2)เพื่อศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21โดยใช้กิจกรรมลูกเสือของครูโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครก่อนและหลังการพัฒนา และ3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21โดยใช้กิจกรรมลูกเสือของครูโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประชากรในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 310 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสอบถาม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 วงรอบดังนี้
วงรอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562
วงรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึง 7 มกราคม พ.ศ. 2563
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน t-test (Independent Sample) ใช้เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลแบบสามเส้าวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า
1.ก่อนการพัฒนาโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนนท์อนุสรณ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มีสภาพการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21โดยใช้กิจกรรมลูกเสืออยู่ในระดับปานกลาง(mu=2.75, sigma =0.51) และรายการที่มีสภาพการจัดการเรียนรู้ต่ำและจำเป็นจะต้องพัฒนาเรียงลำดับความจำเป็นดังนี้ มีข้อ(6) มีการส่งเสริมให้มีจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า สังเกต รวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ คิดอย่างหลากหลายสร้างสรรค์ และสามารถสร้างองค์ ความรู้ด้วยตนเอง(mu=1.73, sigma =0.53) ข้อ(7) มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสิ่งที่จะเรียนรู้สภาพ นักเรียนและเน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง (mu=2.17, sigma =0.41) ข้อ(9) มีนโยบายการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 และมีการกำหนดไว้ในแผนงานโครงการ (mu=2.17, sigma =0.41)และข้อ(10)มีการใช้สื่ออย่างหลากหลายและส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล(mu=2.17, sigma =0.41)
หลังพัฒนาโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนนท์อนุสรณ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มีสภาพการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21โดยใช้กิจกรรมลูกเสืออยู่ในระดับมาก (mu=4.47, sigma =0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ถึงมากโดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ ข้อ(13) มีการจัดแหล่งความรู้ สื่อและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนการสอน(mu=4.63, sigma =0.75) ข้อ (5) มีการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยเน้น กระบวนการกลุ่ม(mu=4.63, sigma =0.75)และ ข้อ(16) มีการนิเทศการสอนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง(mu=4.57, sigma =0.59)
2. ก่อนการพัฒนาครูโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มีระดับการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กิจกรรมลูกเสือโดยรวมอยู่ในระดับมาก(mu=-3.96, sigma =0.71)และรายการที่มีสภาพการจัดการเรียนรู้ต่ำและจำเป็นจะต้องพัฒนาเรียงลำดับความจำเป็นดังนี้ข้อ(2) (mu=4.02, sigma =0.68) ข้อ(1) กำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพนักเรียน (mu=4.07, sigma =0.66) ข้อ(9)ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) หลังจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบอยู่เสมอ (mu=4.09, sigma =0.59)
หลังการพัฒนา ครูโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มีระดับการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 โดยใช้กิจกรรมลูกเสือโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mu=4.54, sigma =0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดถึงมากโดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ ข้อ(7) มีการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน (mu=4.59, sigma =0.75) ข้อ (8) จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดความเขา้ใจเกี่ยวกับมโนทัศน์และแนวคิดที่สำคัญมากกว่าการท่องจำ (mu=4.58, sigma =0.41)และ ข้อ(11) มีการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนในการที่จะเรียนสิ่งใหม่ๆ(mu=4.58, sigma =0.46)
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21โดยใช้กิจกรรมลูกเสือของครูโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากที่สุด (mu=4.56, sigma =0.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดถึงมากโดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ ข้อ(11) นักเรียนมีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม(mu=4.79, sigma =0.45) ข้อ(12)ครูใช้สื่อ อย่างหลากหลายในการจัดกิจกรรม (mu=4.78, sigma=0.41)และข้อ(10) กิจกรรมที่ครูจัดส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณ(mu=4.59, sigma =0.14)