รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมเพื่อการปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมของโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) ครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ 2)เพื่อประเมิน ความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการและ4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการซึ่งได้แก่ 1) คุณธรรมจริยธรรมนักเรียน จำนวน 9 ด้าน ประกอบด้วย ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความสุภาพ ความสะอาด ความสามัคคี ความมีน้ำใจและความกตัญญู 2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโดย การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมเพื่อการปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมของโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนา-นนท์อนุสรณ์)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 568 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) จำนวน 9 คน (รวมผู้อำนวยการสถาน 1 คนและครูที่เป็นตัวแทนข้าราชการครู 1คน) ครู จำนวน 41 คน นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่4-6) บ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) จำนวน 259 คนและผู้ปกครองนักเรียนช่วงชั้นที่ 2(ชั้นประถมศึกษาปีที่4-6) บ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) จำนวน 259 คน โดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie, R.V. & Morgan, D.W) ซึ่งเรียกว่าตารางการสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1)แบบประเมินมาตรา ส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมเพื่อการปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมของโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมเพื่อการปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมของโรงเรียนบ้านหนองบอน(นัยนานนท์อนุสรณ์) โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (x̄=4.38,S.D.=0.74)และเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือด้านสภาวะแวดล้อม (x̄ =4.56,S.D.=0.58) ด้านปัจจัยนำเข้า(x̄ =4.33,S.D.=0.41) และด้านกระบวนการ (x̄ =4.33,S.D.=0.14)
2. ด้านสภาวะแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.56, S.D.= 0.58) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ ข้อ(3) หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
(x̄ =4.83, S.D.= 0.39) ข้อ(1)โรงเรียนได้มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไว้ในแผนปฏิบัติการได้อย่างชัดเจน (x̄ =4.78, S.D.= 0.45)และข้อ(7) มีความสอดคล้องกัน ในการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (x̄ =4.67, S.D.= 0.49)
3.ด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.33, S.D.= 0.41) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือข้อ(1) ผู้บริหารสถานศึกษาให้การส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินงานตามโครงการ (x̄ =4.75, S.D.= 0.45) ข้อ(2) (x̄ =4.58, S.D.= 0.51)และข้อ(8)มีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างเพียงพอ (x̄ =4.50, S.D.= 0.52)
4. ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.33, S.D.= 0.82) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ ข้อ(11) มีการรายงานผลการประเมินกิจกรรมต่างๆของโครงการ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง (x̄ =4.52, S.D.= 0.78) ข้อ(6) รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม (x̄ =4.51, S.D.= 0.76)และข้อ(12) โรงเรียนมีการเผยแพร่และขยายผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการสู่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ (x̄ =4.51, S.D.= 0.87)
5. ด้านผลผลิต โดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.30, S.D.= 1.14) เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดและมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ความกตัญญู (x̄ =4.51, S.D.= 1.38) ความสุภาพ (x̄ =4.51, S.D.=1.40)และด้านความสามัคคี (x̄ =4.48, S.D.= 1.39) และเมื่อ จำแนกเป็นรายกลุ่มของประชากรมี ผลการประเมินเป็นดังนี้
ครูได้มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนในการเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม โดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.34, S.D.= 0.94) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ด้าน ความสามัคคี (x̄ =4.52, S.D.= 0.79) ด้านความสุภาพ (x̄ =4.51, S.D.= 1.47) และด้านความความกตัญญู (x̄ =4.50, S.D.= 0.94)นักเรียนมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนในการเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.25, S.D.= 1.18) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านและเรียง จากมากไปหาน้อยได้แก่ด้าน ความสุภาพ(x̄ =4.50, S.D.=1.38) ด้านความสะอาด (x̄ =4.49, S.D.= 1.65) และด้านความสามัคคี(x̄ =4.48, S.D.= 0.83) ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนในการเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.20, S.D.=1.22) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความสุภาพ (x̄ =4.52, S.D.= 1.38) ความกตัญญู (x̄ =4.52, S.D.= 1.95) และด้านความมีน้ำใจ (x̄ =4.38, S.D.= 1.78)