ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวยุพาภรณ์ หาญสงคราม
สถานที่ศึกษา โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและศึกษาข้อมูล
พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนา
และหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาผลของการ
จัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษา
เพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคมที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active
Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นการสุ่ม
ด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียน ประกอบด้วยนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกันทั้ง
นักเรียนชายและนักเรียนหญิง ซึ่งถือว่าเป็นว่าเป็นตัวแทนของนักเรียนส่วนใหญ่ได้ตัวแปรอิสระ ได้แก่
รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการใช้ภาษา
เพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่ได้รับการจัดการ
เรียนรู้ด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนด้วยรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้
Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ
วัดความสามารถด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
ข
การจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษา
เพื่อการสื่อสาร สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (
X
) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติโดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจ
ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ ทำหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และ
แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้มีความเข้าใจ
ในตนเอง ใช้สติปัญญา คิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ที่บ่งบอกถึงการมีสมรรถนะสำคัญ
ในศตวรรษที่ 21 มีทักษะวิชาการทักษะชีวิและทักษะวิชาชีพ บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่
1. แนวคิดทฤษฎี2. หลักการ 3. วัตถุประสงค์4. เนื้อหาสาระการเรียนรู้5. กระบวนการจัดการเรียนรู้
6. ระบบสังคม 7. การวัดและประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นที่ผู้สอนเตรียมความพร้อมและทบทวนความรู้ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดกิจกรรมกระบวนการ
ทางปัญญา ขั้นที่ 3 ขั้นการศึกษารวบรวมข้อมูล และการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ขั้นที่ 4 ขั้นการ
สรุปองค์ความรู้ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผลงาน เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบกลุ่มใหญ่ (Field
Tryout) จำนวน 31 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.13/82.02 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
ความสามารถการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารก่อนเรียนและหลังเรียนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.96
และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย
ข้อที่ 2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับการ
จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชา
ภาษาไทย โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร พบว่า
ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (
X
= 4.23, S.D.= 1.23