บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ผู้วิจัย แวซายเค๊าะ ซารีเดะ
ปีการศึกษา 2562
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีวัตถประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการของทักษะ
การคิดคำนวณรูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านประจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวนนักเรียน 25 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยออกแบบการวิจัยเป็นแบบ Embedded Design เคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ค่าร้อยละ (%) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) หาค่าที แบบไม่เป็นอิสระ (t test for dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา (content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบและ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งองค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำ (Warm up) 2) ค้นคว้า (Study) และ 3) เฉลย (Key) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.68/82.90
2. ทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนหลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับค่อนข้างดี (ร้อยละ 67.20) เป็นระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 86.80)
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน W.S.K. Model เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.56, S.D. = 0.61)