แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
โรงเรียนบ้านบูเกะกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๒
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
๑. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐
๒. เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรุ้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบูเกะกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๑๙ คน
เครื่องมือที่ใช้ในประกอบการศึกษา
๑. แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๔ เล่ม คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์
๒. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑ ชุด มี ๓๐ ข้อ ๓๐ คะแนน ข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก
๓. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๘ แผน ๑๘ ชั่วโมง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การทดสอบด้วยนัยสำคัญด้วย t-test Dependent (บุญชม ศรีสะอาด. ๒๕๔๗ : ๑๑๓ ) ๓ ๒) หาคะแนนเฉลี่ย และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย (บุญชม ศรีสะอาด. ๒๕๔๗ : ๑๐๕,๑๐๙) ๓) การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย
ผลที่ได้รับ
๑. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการซึ่งประเมินจากกระรบวนการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากคะแนนของแบบฝึกทักษะระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ทั้ง ๔ เล่ม ได้ประสิทธิภาพตัวแรก (E1) เท่ากับ ๘๔.๖๑ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ซึ่งเป็นการประเมินผลโดยการนำคะแนนจากการประเมินผลหลังเรียน ได้ประสิทธิภาพตัวหลัง (E2) เท่ากับ ๘๓.๕๑ สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐาน ๘๐/๘๐
๒. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๒๕.๐๕ สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๑๕.๒๖และเมื่อทำการทดสอบค่า t-test Dependent พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
ข้อเสนอแนะ
๑. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
๑.๑) ในการจัดทำแบบฝึกทักษะการเขียนระบุชนิดของคำในภาษาไทย ครูผู้สอนควรเลือกคำที่กำหนดมาให้นักเรียนเขียน มีความเหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของผู้เรียน
๑.๒) ในการจัดกิจกรรมแต่ละแบบฝึกทักษะ ครูควรชี้แจงวิธีการทำ การมีวินัย รวมทั้งความซื่อสัตย์ในตนเอง โดยให้ผู้เรียนใช้ความสามารถของตนเอง และมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
๒. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
๒.๑) ควรมีการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนประกอบภาพการ์ตูนสีในเนื้อหาอื่น ๆ ที่ครูเห็นว่าเป็นปัญหา และยากสำหรับนักเรียนในทุกชั้นเรียน หรือนักเรียนที่เรียนอ่อน
๒.๒) ควรมีวิจัยการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะกับเนื้อหากลุ่มสาระอื่น เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นต้น