บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงมะไฟสามัคคีราษฎร์อุทิศ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงมะไฟสามัคคีราษฎร์อุทิศ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงมะไฟสามัคคีราษฎร์อุทิศ (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงมะไฟสามัคคีราษฎร์อุทิศ และ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงมะไฟสามัคคีราษฎร์อุทิศ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลาก แบบแผนการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบตรวจสอบความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อร่างรูปแบบ 3) แบบสอบถาม 4) แบบประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา การบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงมะไฟสามัคคีราษฎร์อุทิศ คือ ต้องการให้ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาโครงสร้างและบริบทของโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงมะไฟสามัคคีราษฎร์อุทิศ จำแนกเป็น 1) รูปแบบมี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่1 ด้านหลักการ องค์ประกอบที่2 ด้านวัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่3 ด้านเครือข่ายความร่วมมือ องค์ประกอบที่4 ด้านกระบวนการนิเทศภายใน 6ร และองค์ประกอบที่5 ด้านประสิทธิผลการจัดการศึกษาในวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ 2) ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 3) ความเหมาะสมของคู่มือการบริหารการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ พบว่า
1) ประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามรูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษา พบว่า ผลการอ่านออกเขียนได้ (RT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนพัฒนาการ 13.13 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน NT ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนพัฒนาการ 14.57 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-Net ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนพัฒนาการ 9.11 และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-Net ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนพัฒนาการ 3.29 ผล RT NT O-Net ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนพัฒนาการสูงกว่าคะแนนพัฒนาการระดับประเทศ
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก