ชื่อผลงาน การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนบูรณาการการพัฒนาทักษะชีวิตภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผู้พัฒนา นายชาตรี จินดามณี
หน่วยงาน โรงเรียนวัดบวรมงคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1
ปี พ.ศ. 2565
บทสรุป
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนบูรณาการการพัฒนาทักษะชีวิตภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดบวรมงคลทุกคนได้ค้นพบศักยภาพของตนเองและได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพอย่างทั่วถึงด้วยกระบวนการพัฒนาทักษะชีวิต
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมประกอบด้วย 1) ทบทวนผลการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่ผ่านมาจากนวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนทั้ง 2 ปีก่อนหน้า 2) วางแผนการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 3) ดำเนินการ นิเทศ กำกับติดตาม การดำเนินงานซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย คือ 3.1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้วยชุดคำถาม R-C-A 3.2) กิจกรรมเสริมหลักสูตรในแบบออนไลน์ 3.3) นำเทคโนโลยีมาช่วยจัดกิจกรรมเสริมทักษะและเสริมการเรียนรู้ 3.4) กิจกรรมการสร้างการค้นพบตนเองของผู้เรียนด้วยกิจกรรมแนะแนว 4) ประเมินผลการดำเนินการและจัดทำรายงาน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบประเมินทักษะชีวิตที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้น โดยเป็นข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 42 ข้อ ทั้งนี้จะเป็นการประเมินทักษะชีวิตผู้เรียนใน 4 ด้านคือ การรู้จักตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา การจัดการอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ผลการศึกษา พบว่า
1. แสดงผลการประเมินทักษะชีวิตของผู้เรียนหลังการนำนวัตกรรมมาใช้ พบว่า ในภาพรวมพบว่าผู้เรียนมีผลการประเมินทักษะชีวิตในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตามด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่านักเรียนมีการประเมินทักษะชีวิตในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นมีผลการประเมินสูงที่สุด และในด้านการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2. ครูทุกคนมีการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning และให้มีการบูรณาการการพัฒนาทักษะชีวิตด้วยชุดคำถาม R-C-A
3. นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่โรงเรียนได้จัดขึ้น รวมถึงได้เข้าร่วมกิจกรรมภายนอกสถานศึกษาที่หน่วยงานอื่นจัดขึ้น ทำให้ได้รับความรู้ เกียรติบัตรและรางวัลจากหน่วยงาน ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
4. นักเรียนได้เข้าใช้ระบบห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) โดยได้ไปเข้าดาวน์โหลดใบความรู้ใบงาน อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการเข้าชมคลิปวิดีโอทั้งในส่วนทั้งการเสริมความรู้และการเรียนรู้ในรายวิชาในรูปแบบออนดีมานด์ ในส่วนของโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้แอพพลิเคชั่น Neo Study ซึ่งได้พบว่านักเรียนสามารถเรียนจบหลักสูตรตามระยะเวลาที่กำหนด
5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นทิศทางที่จะศึกษาต่อหลังเรียนจบช่วงชั้น และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ก็ค้นพบความสนใจ ความถนัดและเป้าหมายในการศึกษาต่อของตนเอง