การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนบ้านหัวโกรกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ผู้วิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D : Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันและผลการดำเนินการบริหารงานของโรงเรียนบ้านหัวโกรกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ก่อนการพัฒนา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านหัวโกรกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านหัวโกรกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาหลังดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านหัวโกรกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาสามารถสรุปผลการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัยระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันและผลการดำเนินการบริหารงานของโรงเรียนบ้านหัวโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ก่อนการพัฒนา
ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านหัวโกรก ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหัวโกรก (ยกเว้นตำแหน่งผู้อำนวยการและตำแหน่งผู้แทนครู) ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานศึกษาอยู่ในโรงเรียนบ้านหัวโกรก ปีการศึกษา 2562 จำนวน 188 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสรุปผลการศึกษาเอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อศึกษาผลการดำเนินการบริหารงานของโรงเรียนบ้านหัวโกรก
ผลการศึกษาจากเอกสารรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง พบว่า บริบทของโรงเรียนบ้านหัวโกรก
ด้านปัจจัยนำเข้า ซึ่งได้แก่บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ แรงจูงใจนั้น สภาพทุกอย่างไม่ ไม่เอื้อต่อคุณภาพงานและอยู่ในสภาพขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาโรงเรียนและนักเรียน ด้านกระบวนการนั้นไม่เป็นระบบไม่มีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน การกำหนดทิศทางขององค์กรไม่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย ไม่มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ของผู้เรียน มีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พบว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับคุณภาพ ต้องปรับปรุง จุดที่ควรพัฒนาคือสถานศึกษามีบทบาทไม่ชัดเจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการแก่ผู้เรียน อีกทั้งยังไม่มีงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผนสถานศึกษา ครูผู้สอนได้รับการนิเทศที่ไม่เป็นระบบ ครูบางส่วนขาดความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและประเมินผลที่หลากหลายในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
ผลการศึกษาจากการแบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อศึกษาผลการดำเนินการบริหารงานของโรงเรียนบ้านหัวโกรก ก่อนการพัฒนา พบว่า การบริหารงาน 4 ด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินการบริหารงานต่ำสุดเท่ากันใน 3 ประเด็นได้แก่ 1) โรงเรียนมีโครงการ/กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่สามารถสร้างพัฒนาการและกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้คำตอบด้วยตนเองตามความต้องการของผู้เรียน 2) โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3) โรงเรียนมีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการบริหารงบประมาณ พบว่า มีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินการบริหารงานต่ำสุด 3 ประเด็นได้แก่ 1) โรงเรียนมีการจัดสรรงบประมาณตามหลักการบริหารดังนี้วิชาการ 70% งบประมาณ 10% บุคคล 10% บริหารทั่วไป 10% 2) โรงเรียนมีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขอความเห็นชอบในการใช้งบประมาณตามแผนการปฎิบัติการประจำปี 3) โรงเรียนมีการรายงานผลการปฎิบัติงานให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ เช่น สำนักงานเขตพื้นที่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงการคลัง ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่า มีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินการบริหารงานต่ำสุด 3 ประเด็นได้แก่ 1) โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารงานบุคคลที่ชัดเจนมีการแต่งตั้งมอบหมายงานเป็นลายลักษณ์อักษร 2) โรงเรียนมีการประกาศยกย่องเชิดชูครูที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ 3) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและมีการพัฒนาตนเองศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ การบริหารงานทั่วไป พบว่า มีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินการบริหารงานต่ำสุด 3 ประเด็นได้แก่ 1) โรงเรียนมีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) โรงเรียนมีระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศที่ดี 3) โรงเรียนมีการจัดระบบการควบคุมภายในองค์กร
สรุปผลการวิจัยระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนบ้านหัวโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1
ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิผล และผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ดำเนินการบริหารจนประสบผลสำเร็จ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านหัวโกรก ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหัวโกรก (ยกเว้นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและตำแหน่งผู้แทนครู) ปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวโกรก ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 8 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคุณภาพของรูปแบบในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ในการนำไปใช้
ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ระดับมากที่สุด
สรุปผลการวิจัยระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนบ้านหัวโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนบ้านหัวโกรก ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินระดับผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของรูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนบ้านหัวโกรก เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
ผลการดำเนินงานการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนมีที่ประสิทธิผล มีผลการดำเนิน งานตามกลยุทธ์ดังนี้ ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลยุทธ์ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกกลยุทธ์ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลยุทธ์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลยุทธ์ ซึ่งทั้ง 2 ปีการศึกษาพบว่ากลยุทธ์ที่มีผลการดำเนินสูง คือกลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
ประสิทธิผลของสถานศึกษาที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนที่มีประสิทธิ ผล จำแนกเป็น 4 ด้าน ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ด้านความ สามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา ทุกด้านมีผลการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 ถึง ปีการศึกษา 2563
สรุปผลการวิจัยระยะที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาหลังดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนบ้านหัวโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านหัวโกรก ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหัวโกรก (ยกเว้นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและตำแหน่งผู้แทนครู) ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 188 และ 189 คน นักเรียน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 188 และ 189 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาหลังดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง