การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นสถานศึกษาพอเพียงท้องถิ่น
ด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
นายสยาม เครือผักปัง
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจ สร้าง ตรวจสอบ ทดลองใช้และรับรองรูปแบบ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษางานวิจัย หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน คุณภาพและรางวัลโรงเรียนคุณภาพ เพื่อให้ได้กรอบรูปแบบ จำนวน 7 ประเด็น 2) สำรวจข้อมูลในโรงเรียน ที่เป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโรงเรียนที่เริ่มจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 24 คน 3) สร้างร่างรูปแบบและตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของร่างรูปแบบจากโรงเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน เป็นผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์ ด้านการสอนหรือบริหารโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ 4) ทดลองใช้ร่างรูปแบบในโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา 5) ปรับปรุงร่างรูปแบบและการรับรองร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และ 6) เขียนรายงานการวิจัย เพื่อเสนอผลงานทางวิชาการ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การแปลผลข้อมูลโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อการสรุปผล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างกรอบรูปแบบได้ ประเด็นในกรอบรูปแบบ 7 ประเด็น คือ 1.1) นักเรียน มีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เรียนต่อและประกอบ อาชีพได้ 1.2) หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด 1.3) อาคาร สถานที่ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และแหล่งการเรียนรู้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างหลากหลาย ทุกเวลา ทุกสถานที่ 1.4) โรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานจากภายนอกมีส่วนร่วมจัดการศึกษาตามความต้องการของท้องถิ่น 1.5) ครูและบุคลากร มีสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีทันสมัยและได้รับการพัฒนาคุณภาพครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง 1.6) โรงเรียนมีงบประมาณเพียงพอเน้นด้านผลสัมฤทธิ์ และ 1.7) โรงเรียนจัดการศึกษา การประกันคุณภาพ การศึกษามีประสิทธิภาพ คุณภาพและมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นสถานศึกษาพอเพียงท้องถิ่นด้านจัดการเรียน การสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้รูปแบบ SLCN4M:PAR ผลการตรวจสอบคุณภาพ ของรูปแบบได้ผลว่า รูปแบบมีคุณภาพ และสามารถนำรูปแบบไปใช้ได้จริง
3. ผลสำเร็จที่ได้จากการทดลองใช้ร่างรูปแบบ ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนที่ จัดการเรียน การสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูผู้สอนและนักเรียนที่เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.1 ผลสำเร็จของโรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบ ผลสำเร็จในด้านการมีหลักสูตร
ด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบ มีหลักสูตร ด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นไปตามเป้าหมาย และ ตัวชี้วัด และในด้านรางวัลที่โรงเรียนได้รับเป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
3.2 ผลสำเร็จของครูผู้สอนด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านความรู้ ความสามารถ และการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอน มีผลการประเมิน ในระดับดีมาก เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
3.3 ผลสำเร็จของนักเรียนที่เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน นักเรียนที่เรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับดีมาก เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด