ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) รายวิชาภูมิศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวบุษบง สรวงศิริ
โรงเรียน โรงเรียนพังงูพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพังงูพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 13 แผน ใช้สอน 13 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.20-0.64 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.79 และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Pair)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.24/85.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.7799 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.99
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ