ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(สาระเศรษฐศาสตร์) โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network)
ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวบุษบง สรวงศิริ
โรงเรียน โรงเรียนพังงูพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา
รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์
เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้าง และ
พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับ
การเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์
เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social network) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและ
หลังเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาสังคม เรื่อง เศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนพังงูพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.7908 (3) แบบประเมินทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Pair)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง ทั้งแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ
2. รูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับ
การเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ 84.14/83.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.7495 หรือคิดเป็นร้อยละ 74.95
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้
ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้
โดยใช้ชุดฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุด
ฝึกทักษะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ คิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก