การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวติเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 รูปแบบที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมานที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน ผู้ปกครองจำนวน 35 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 23 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 71 คน ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการสิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity)ืใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบาค (Cronbach) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมมีความจำเป็นหรือความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมือ่พิจารณาเป็นรายกลุ่มครูมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากสุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน นักเรียน ครู และผู้ปกครรอง มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ทุกกลุ่มผู้ประเมินเช่นกัน
4. ด้านผลผลิต
4.1 ด้านผลผลิตเกี่ยวดับคุณภาพของการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู๋ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน กลุ่มนักเรียน กลุ่มครูและกลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนบ้านห้วยไทร โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองกลุ่มนักเรียนและกลุ่มครูมีความคิดเห็น โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านทุกกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าด้านบรรยากาศและสถานที่ดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
4.3 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทรโดยภาพรวมมีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูและกลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็น มีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินโครงการภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ทั้ง 4 ด้านของโค