|
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4 เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอน ที่ 1 ได้แก่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 และมาตรฐาน ว 2.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ได้แก่ ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์ ทฤษฎีกระบวนการประมวลข้อมูล และทฤษฎีการสร้างความรู้กระบวนการคิดและแก้ปัญหาของโพลยา, บรูเนอร์, กิลฟอร์ด, เบลเยอร์, เวียร์ และดิวอี้ การศึกษาความคิดเห็นความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ประเด็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการของผู้บริหารสถานศึกษาและประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 4 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้องและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างแหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอ หนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (MLCE Model) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ข้อมูลพื้นฐานโดยภาพรวมมีความเหมาะสม/สอดคล้องและเพียงพอกับการศึกษา เป็นไปตามสมมติฐานวิจัยข้อที่ 1 โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีเป้าหมายของการศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจและทักษะการคิด เนื่องจากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์จนเกิดทักษะสำคัญในการค้นหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย และจากความคิดเห็นนักเรียน พบว่า ต้องการให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ชอบการเรียนรู้ที่ปฏิบัติจริงและชอบให้ครูใช้สื่อการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่มีการแข่งขันในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า ควรเตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และควรเริ่มนำร่องพัฒนาให้กับนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อน และความคิดเห็นของครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นว่า ควรดำเนินการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ควบคู่กับการคิดแก้ปัญหา โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน (MLCE Model) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Motivating: A) ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติ (Learning by Practice: L) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหา 6 ขั้น 1) รู้และเข้าใจปัญหา 2) วิเคราะห์ปัญหา 3) วางแผนแก้ปัญหา 4) แก้ปัญหา 5) การตรวจสอบผล และ 6) นำไปประยุกต์ใช้ ขั้นตอนที่ 3 การสร้างองค์ความรู้ (Construction: C) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล (Evaluation: E) มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยมีค่าความเหมาะสมสอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.94 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.12 และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.57/84.33 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 และเมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างพบว่า สามารถเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งได้ยอมรับสมมติฐานข้อที่ 3
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (MLCE Model) พบว่า จากการนำรูปแบบการเรียนการสอน (MLCE Model) ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 35 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) หลังการเรียนการสอนนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 25.739 โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 10.91 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.40 และหลังเรียนเท่ากับ 20.80 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.47 และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 53.329 โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( ) ก่อนเรียน เท่ากับ 8.94 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.06 และหลังเรียนเท่ากับ 16.97 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.79 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (MLCE Model) พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.74 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.07 เป็นไปตามสมมติฐานในการวิจัยข้อที่ 5
|
โพสต์โดย น้ำ : [2 ก.พ. 2565 เวลา 10:13 น.] อ่าน [3528] ไอพี : 171.4.176.107
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 53,196 ครั้ง
| เปิดอ่าน 41,019 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,342 ครั้ง
| เปิดอ่าน 37,113 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,582 ครั้ง
| เปิดอ่าน 60,238 ครั้ง
| เปิดอ่าน 381,157 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,585 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,236 ครั้ง
| เปิดอ่าน 1,499 ครั้ง
| เปิดอ่าน 25,799 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,391 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,024 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,935 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,098 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 19,334 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,710 ครั้ง
| เปิดอ่าน 3,392 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,036 ครั้ง
| เปิดอ่าน 181,811 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|