บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research& Development ) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้แก่ ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndikes Classical Connectionism) และทฤษฎีการสร้างความรู้ของ (Constructivist Learnink Theory) และทฤษฎีการรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดสะตีมศึกษา และแนวคิดกระบวนการสร้างสรรค์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา การศึกษาความต้องการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนและครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 2 คน และประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 2 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินกระบวนการสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนศิลปะ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent )
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ข้อมูลพื้นฐานโดยภาพรวมมีความเหมาะสม/สอดคล้องและเพียงพอกับการศึกษา เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีเป้าหมายการของการจัดศึกษาศิลปะ คือ พัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจ มี่ทักษะวิธีการทางศิลปะและซาบซึ้งในคุณค่าศิลปะ และจากศึกษาความต้องการของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอน พบว่า ต้องการให้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริง ในส่วนของครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนและครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีความคิดเห็นซึ่งสอดคล้องกันว่า ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้จินตนาการในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ที่เน้นความเป็นไทยที่เชื่อมโยงกับความรู้ในแต่ละสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อเสริมสร้างกระบวน การสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน (4CR Model ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การนำเสนอเนื้อหา (Context Presentation: C ) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างความรู้ (Construction: C) ขั้นตอนที่ 3 การถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ (Creative Expression: C) ขั้นตอนที่ 4 การสรรค์สร้างผลงาน (Creation of works: C) และขั้นตอนที่ 5 การสะท้อนความคิด (Reflection: R) มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยมีค่าความเหมาะสมสอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.75 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.43 และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้ (Tyout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 81.98/83.22 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4CR Model) พบว่า จากการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๔หนองแคอนุสรณ์ สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 35 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit ) พบว่า หลังการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยนักเรียนมีผลการประเมินกระบวนการสร้างสรรค์เปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดี ทุกหน่วย และหลังการเรียนการสอนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.88 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.04 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4CR Model) พบว่า หลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนในแต่ละหน่วยนักเรียนมีกระบวนการสร้างสรรค์เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีทุกหน่วย เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนศิลปะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test dependent ) เท่ากับ 42.40 เป็นไปตาสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 5
5. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4CR Model) พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.69 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 6