บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเป็นนวัตกร 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเป็นนวัตกรให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเป็นนวัตกรที่พัฒนาขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียน
การสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 6) แบบประเมินความเป็นนักนวัตกร และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อรูปแบบการเรียนการสอน
สถิติที่ใช้ในการวิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์
ค่าทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเป็นนวัตกร ที่พัฒนาขึ้นใช้ชื่อว่า PIAPPT Model โดยมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความเป็นนวัตกร 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม (Prepare) ขั้นที่ 2 ระบุปัญหา (Identify the problem) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา (Analyze the problem) ขั้นที่ 4 วางแผนและระดมความคิด (Plan and Brainstorm) ขั้นที่ 5 สร้างต้นแบบ (Prototype) ขั้นที่ 6 ทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluate) 4) การวัดและประเมินผล ได้แก่ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และประเมินความเป็นนวัตกร
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเป็นนวัตกรให้มีประสิทธิภาพ 80.00/80.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 84.87/82.78
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย ("X" ̅ = 82.78, S.D. = 2.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ("X" ̅ = 80.90, S.D. = 4.10)
3) นักเรียนมีความเป็นนวัตกรอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 2.58, S.D. = 0.32) 4) นักเรียนมีความพึงพอใจ
ที่ต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.42, S.D. = 0.26)